วันอาทิตย์ที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2552

OK Model; Learning Procedure, Back to Basics

มนุษย์เป็นสิ่งมีชีวิตที่มีวิวัฒนาการของการเรียนรู้มาจากฐานรากโดยใช้สัญชาต ญานที่ฝังอยู่ในตัวไม่แตกต่างจากสัตว์ทั้งหลาย การพัฒนาด้านทักษะการสังเกต(Observation)ของมนุษย์ตั้งแต่แรกเริ่มเป็นสิ่งจำเป็นที่ต้องปลูกฝังอยู่ในกระบวนการเรียนรู้ตลอดเวลา OK Model ทั้งสามโมเดลต่อไปนี้ สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการเรียนรู้ในของมนุษย์ โดยปรับใช้ให้สอดคล้องกับพัฒนาการของมนุษย์ตามวัย ดังนี้

1. OK Model: Basic Learning Procedure

โมเดล1 ข้างต้นนี้ ควรนำมาพัฒนาการเรียนรู้กับมนุษย์ตั้งแต่แรกเกิดจนสิ้นสุดวัยเด็ก(Nursesary to Primary:อายุแรกเกิดจนถึง12 ปี) โดยแต่ละขั้นตอนมีลำดับขั้นดังนี้

1. Observing: ทำการสังเกต โดยพ่อ แม่ ผู้ปกครอง และครู ควรจัดสถานะการณ์ให้ผู้เรียนได้ศึกษาจากสิ่งหรือปรากฎการณ์ต่างๆ โดยการฝึกทักษะการใช้ประสาทสัมผัสทั้งห้า( การมองเห็น การได้ยิน การสัมผัส การดมกลิ่น และการลิ้มรส) กับสิ่งหรือปรากฎการณ์ต่างๆเหล่านั้น
2. Comparing: ทำการเปรียบเทียบ กับสิ่งต่างๆ โดยให้ผู้เรียนได้คาดคะเนจากการสัมผัสโดยใช้อวัยวะส่วนต่างๆของร่างกายและฝึกทักษะการใช้เครี่องมือพื้นฐานเพื่อทำการเปรียบเทียบ อาทิเช่น การชั่ง ตวง วัด เครื่องคิดเลข หรือคำนวณเลขง่ายๆ เป็นต้น
3. Classifying: นำผลจากการเปรียบเทียบมาดำเนินการจัดเป็นหมู่ พวกเพื่อให้ง่ายต่อการที่จะเชื่อมโยงกับสิ่งที่เคยรับรู้หรือเป็นความรู้มาก่อนในขั้นที่ 4
4. Transfering: นำผลลัพทธ์จากขั้นที่ 2 และ/หรือ 3 มาทำการเชื่อมโยงกับสิ่งหรือปรากฎการณ์ต่างๆที่เคยรับรู้หรือที่เป็นความรู้มาก่อน เพื่อที่จะนำไปสู่การอนุมานหรือสรุป
5. Infering: ทำการอนุมานหรือสรุปสิ่งกำลังศึกษาจากขั้นตอนที่1-4 ซึ่งจะเป็นความรู้ใหม่ที่ได้รับจากกระบวนการเรียนรู้ ซึ่งจะเรียกกระบวนการเรียนรู้นี้ว่า รูปแบบความรู้ที่เกิดจากการการสังเกต(Observing KnowledgeModel)และจะเรียกสั้นๆว่า OK Model

2. OK Model; Cyclical Learning


โมเดล 2 ข้างต้นนี้ ควรนำมาพัฒนาการเรียนรู้กับมนุษย์ตั้งแต่วัยแรกรุ่น จนเข้าสู่วัยผู้ใหญ่(Secondary:อายุ12 ปีจนถึง17 ปี) โดยกระบวนการเรียนรู้ในแต่ละขั้นตอนทำนองเดียวกับโมเดลที่1 เพียงแต่สีงหรือสถานะการณ์ต่างๆที่จัดให้ผู้เรียนศึกษาควรซับซ้อนมากขึ้นตามพัฒนาการเรียนรู้ที่เขาได้รับมา และเน้นการจัดสถานการณ์การเรียนรู้ให้มีความต่อเนื่องจนเป็นวัฎจักร( Cycle)

3. Adult/Experiential Learning Process; Applied OK Model

3 ได้ประยุกต์การจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบ OK model 1 & 2 ข้างต้นเชื่อมโยงต่อเนื่องกับ แนวความคิดการจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบผู้ใหญ่ของ Knowles Malcolm S & Kolb, David A

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น