วันพุธที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2552

The Innovation of New Bilingual in Thailand

EIS: นวัตกรรมสองภาษารูปแบบใหม่ กลยุทธ์ในการขับเคลื่อนการปฏิรูปการเรียนรู้แบบพอเพียง


 

surapong.eis.th@gmail.com, July, 2009


 

นับแต่ปีการศึกษา2540 เป็นต้นมา ผลการจัดการศึกษาของโรงเรียนสุนทรภู่พิทยาจากที่เคยเป็นโรงเรียนดีเด่นจนได้รับรางวัลโรงเรียนพระราชทานเมื่อปีการศึกษา 2530 มีแนวโน้มตกต่ำลงมาโดยตลอด อาทิเช่น จำนวนผู้เรียนลดลงจากจำนวนนักเรียนกว่า 1,000 คนเมื่อปีการศึกษา 2537 เหลือเพียงประมาณ 600 คน ในปีการศึกษา 2547 นักเรียนขาดความกระตือรือร้นต่อการเรียน ไม่เข้าห้องเรียน ผู้ปกครองนักเรียนเอาใจใส่ ติดตามผลการผลการเรียนของบุตรหลานของตนและ มีส่วนร่วมต่อการจัดศึกษาของโรงเรียนน้อยมาก ผลการประเมินคุณภาพมาตรฐานการจัดการศึกษาของ สมศ.รอบแรก (2546) พบว่าครูไม่เน้นการจัดการศึกษาและการเรียนการสอนโดยคำนึงถึงผู้เรียนเป็นสำคัญ ผลสัมฤทธิ์ทางด้านการเรียนวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และภาษาอังกฤษลดลงมาโดยตลอด โดยเฉพาะอย่างยิ่งผลการทดสอบการศึกษาแห่งชาติวิชาภาษาอังกฤษเกือบต่ำที่สุดและคะแนนเฉลี่ย ๕วิชารวมกันจัดอยู่ในกลุ่มต่ำสุดเมื่อเปรียบเทียบกับโรงเรียนสังกัดกรมสามัญศึกษาเดิมในทั้งในจังหวัดระยองและประเทศไทย(2546-2547)

ในภาคเรียนที่ 2/2547 หลังจากที่ผู้อำนวยใหม่เข้ารับตำแหน่ง จึงดำเนินการปรับปรุง พัฒนาการจัดการศึกษาโดยมุ่งเน้นที่จะแก้ปัญหาดังกล่าวข้างต้นโดยทดลองจัดการเรียนการสอนรูปแบบสองภาษาในวิชาคณิตศาสตร์ กับนักเรียนในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 จำนวน 3 ห้องเรียน โดยเรียกรูปแบบการจัดการเรียนสองภาษานี้ว่ารูปแบบEIS (English for Integrated Studies) จนได้รับความสนใจจากนักเรียน ผู้ปกครองนักเรียน ครู และชุมชน ในต้นปีการศึกษา 2548 จึงดำเนินการขยายผลจัดการเรียนการสอนรูปแบบสองภาษา วิชาคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ คอมพิวเตอร์ และภาษาอังกฤษ ในชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1,2 และ 4 รวม 9 ห้องเรียน รวมจำนวนนักเรียน 276 คน โดยได้ดำเนินการบริหารจัดการเรียนการสอนเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ โดยหลัก PIL คือหลักการมีส่วนร่วม (P: Participation) การบูรณาการ (I: Integration) และการเรียนรู้ (L: Learning) และนิเทศการจัดการเรียนการสอนโดยใช้บทบาทผู้นำทางการสอน(Instructional Leader)เน้นแบบ Coaching &
Mentoring ตลอดจนกำกับติดตามผลการดำเนินงานเชิงระบบ P-D-C-A Cycle ผนวกกับแนวคิดการพัฒนาภาษาอังกฤษรูปแบบสองภาษา ตามแนวทางของผู้อำนวยการสุรพงศ์อันเป็นผลงานทางวิชาการผู้อำนวยการเชี่ยวชาญ (2547) ได้รับการเงินสนับสนุนจากผู้ปกครองนักเรียนโดยเฉลี่ยประมาณรายละ 1,000 บาทต่อภาคเรียนและเงินอุดหนุนจากองค์การบริหารส่วนจังหวัดระยอง
600,000 บาท เพื่อดำเนินการพัฒนาศักยภาพของครูไทยด้านการใช้ภาษาอังกฤษเป็นสื่อการสอนร่วมกับโครงการหลักสูตรนานาชาติมหาวิทยาลัยบูรพาตลอดปีการศึกษา 2548 อีกทั้งส่งเสริมให้ครูได้พัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา กระบวนการเรียนการสอน สื่อการเรียนการสอนและ ระบบการวัดและประเมินผลการเรียนแนวใหม่ที่เน้นพฤติกรรมการเรียน ตามหลักการของ รูปแบบEIS ผลการดำเนินการของโรงเรียนที่เน้นการเป็นผู้นำทางด้านการบริหารหลักสูตรและการสอน และจากผลการศึกษาวิจัยผลการดำเนินการโครงการรูปแบบ EIS พบว่าผู้เรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางด้านการเรียนภาษาอังกฤษสูงกว่านักเรียนปกติทั้งในระดับชั้นเดียวกันและต่างระดับชั้นอย่างชัดเจน ผู้เรียนสามารถและกล้าที่จะใช้ภาษาอังกฤษสื่อสารกับชาวต่างชาติได้มากขึ้นอย่างเห็นได้ชัดเจน อีกทั้งผู้ปกครองสนใจให้การสนับสนุนและเอาใจใส่ต่อการจัดการเรียนการสอนรูปแบบ EIS เป็นอย่างมาก ตลอดจน ครูผู้สอนวิชาคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ และคอมพิวเตอร์เดิมที่ไม่เคยใช้ภาษาอังกฤษเป็นสื่อการสอนมาก่อน ได้เรียนรู้และพัฒนาทักษะการใช้ภาษาอังกฤษในระหว่างการสอนและการทำงานปกติ ( On- the- Job Learning) ตลอดระยะเวลา 1 ปี จนทำให้ครูส่วนหนึ่งสามารถจัดการเรียนการสอนโดยใช้ภาษาอังกฤษเป็นสื่อในวิชาเดิมได้เกือบไม่แตกต่างจากครูต่างชาติ

จากวิสัยทัศน์ภายใต้กระบวนการมีส่วนร่วมของประชาคมโรงเรียนที่ว่า "ภายในปี2552จะมุ่งพัฒนาให้ผู้เรียนมีบุคลิกภาพอันเป็นสากล เป็นโรงเรียนแห่งการคิด และชุมชนแห่งการเรียนรู้"
ดังนั้น
ในปีการศึกษา 25492551 นอกเหนือจากแนวทางการบริหารจัดการดังกล่าวแล้วข้างต้นยังได้นำหลักการของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงโดยเฉพาะการนำเงื่อนไขด้านคุณธรรมพื้นฐานปลูกฝังในกระบวนการเรียนการสอนที่เน้นหลักคิดแบบOK Model
ผ่านระบบวัดและประเมินผลผู้เรียนบนหลักการคุณธรรมในทุกรายวิชา นำผลการเรียนรู้แจ้งให้ผู้เรียนรับทราบทุกๆสองสัปดาห์ และให้ผู้ปกครองนักเรียนรับทราบและร่วมกันแก้ปัญหาพฤติกรรมและการเรียนรู้ของผู้เรียนทุกภาคเรียนมาโดยตลอด อีกทั้งได้ปรับระบบการบริหารจัดการมุ่งเน้นผู้เรียนเป็นหัวใจของการจัดการ ได้จัดหาเจ้าหน้าที่ธุรการมาทำงานแทนงานธุรการของครูเดิม เพื่อคืนครูเข้าสู่ห้องเรียน

จนส่งผลให้ผู้เรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางด้านการเรียน( NT/O-NET)ใน 5 กลุ่มวิชาหลักเช่น วิชาภาษาอังกฤษ คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ และภาษาไทย สูงขึ้นมาโดยตลอดจนเกือบไม่แตกต่างจากนักเรียนในโรงเรียนยอดนิยมที่มีชื่อเสียง นักเรียนสามารถเข้าสอบเข้ามหาวิทยาลัยได้สูงมากอย่างที่ไม่เคยปรากฏมาก่อน และยังส่งผลให้นักเรียนกลุ่มนี้หลายคนเป็นผู้นำนักศึกษาที่ทำชื่อเสียงให้มหาวิทยาลัยต่างๆ และสอบชิงทุนไปต่างประเทศได้ อีกทั้งทำให้ครูโรงเรียนสุนทรภู่พิทยาพัฒนาสมรรถนะและทักษะทั้งด้านการใช้ภาษาอังกฤษและเทคนิคกระบวนการจัดการสอนสูงขึ้นและสามารถจัดการเรียนการสอนด้วยภาษาอังกฤษไม่แตกต่างจากครูต่างชาติที่สอนในโรงเรียนสองภาษาในประเทศไทย จนได้รับการยอมรับจากเครือข่ายให้เป็นผู้นำการจัดการเรียนการสอนสองภาษารูปแบบ EIS ของประเทศไทย

ปัจจุบันนี้โรงเรียนสุนทรภู่พิทยา นำกระบวนการจัดการเรียนการสอนรูปแบบ EIS ซึ่งเปรียบเสมือนเป็นกลยุทธ์หลักในการขับเคลื่อนกระบวนการเรียนรู้เพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ผู้เรียน ดำเนินการจัดการเรียนการสอนให้กับผู้เรียนทุกคน สนองนโยบายเรียนฟรี 15 ปีอย่างมีคุณภาพของรัฐบาล
นอกจากทำให้โรงเรียนสุนทรภู่พิทยาซึ่งเป็นโรงเรียนมัธยมศึกษาประจำตำบลโรงเรียนเกือบหนึ่งเดียวในประเทศไทยที่ยกระดับการพัฒนาการจัดการศึกษาจนทำให้ผลการเรียนรู้ของผู้เรียนเข้าอยู่ในกลุ่มโรงเรียนยอดเยี่ยมของประเทศไทยในปีการศึกษา 2552 แล้วยังทำให้โรงเรียนสุนทรภู่พิทยาได้รับการยอมรับจากหน่วยงานต่างๆ อาทิเช่น องค์การบริหารส่วนจังหวัดระยอง สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ สถาบัน ELTC มาเลเซีย เป็นต้น ให้เป็นโรงเรียนผู้นำการจัดการเรียนการสอนด้วยภาษาอังกฤษหรือหลักสูตรสองภาษาแนวใหม่ รูปแบบ EIS
ซึ่งเปรียบเสมือนเป็นรูปแบบสองภาษาแบบพอเพียง มีโรงเรียนเครือข่ายไม่น้อยกว่า
50 โรงเรียน ซึ่งรวมทั้งเครือข่ายโรงเรียนร่วมพัฒนาในประเทศและต่างประเทศอาทิเช่นสิงคโปร์ จีน และมาเลเซียเป็นต้น

(ดูเพิ่มเติมได้ที่ http://sites.google.com/site/surapongeisth, )


 

ตารางที่ 4:

กราฟเปรียบเทียบคะแนนเฉลี่ย O-Net ม. 6 โรงเรียนสุนทรภู่พิทยา (SPSS) ปีการศึกษา 2548 - 2551


 


 

ที่มา: สทศ

หมายเหตุ นักเรียน EIS จบม.๖ รุ่นแรก ปีการศึกษา 2550

ตารางที่ 2: กราฟเปรียบเทียบคะแนนNT/O-Net ม. 3 โรงเรียนสุนทรภู่พิทยา (SPSS) ปีการศึกษา 2548 - 2551


 

ที่มา: สทศ.
หมายเหตุ นักเรียนEIS จบม.3 รุ่นแรก ปีการศึกษา 2549


 

ตารางที่ 3: แสดงการเปรียบเทียบคะแนนNTเฉลี่ยวิชาภาษาอังกฤษระหว่างนักเรียน EP และ EIS


 

ที่มา: สพท.ระยอง ๒

ตารางที่ 4: แสดงการเปรียบเทียบ การจำแนกกลุ่มโรงเรียน จำนวนโรงเรียน ตามกลุ่มคะแนนเฉลี่ย มัธยมศึกษาตอนต้น (จำนวนโรงเรียนทั่วประเทศ: ชลบุรี: ระยอง) และมัธยมศึกษาตอนปลาย (จำนวนโรงเรียน ทั่วประเทศ: ชลบุรี: ระยอง)
ตามคะแนน O-Net ปีการศึกษา 2551

กลุ่มคะแนนเฉลี่ย

จำนวน
ร.ร. / คะแนนเฉลี่ย

มัธยมศึกษาตอนต้น

(จำนวนโรงเรียนทั่วประเทศ: ชลบุรี: ระยอง)

มัธยมศึกษาตอนปลาย

(จำนวนโรงเรียน ทั่วประเทศ: ชลบุรี: ระยอง)

กลุ่มสูงสุด
(1)

269 : 5 : 3

277 : 11 : 6

คะแนนเฉลี่ยของSPSS

42.50

38.57

คะแนนเฉลี่ยกลุ่มสูง

37.94

35.76

กลุ่ม 2

593:15:12

563:15:9

คะแนนเฉลี่ยกลุ่มกลาง

34.10

32.08

กลุ่ม3

861:6:3

851:4:4

คะแนนเฉลี่ยกลุ่มต่ำ

31.97

30.05

กลุ่ม4

686:5:1

649:1:0

รวม

2409:31:19

2409:31:19

ที่มา: สำนักการจัดการมัธยมศึกษาตอนปลาย สพฐ.
และจาก สทศ.

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น