วันอาทิตย์ที่ 4 ตุลาคม พ.ศ. 2552

OK Model: EIS approach

OK Model; Learning Procedure, Back to the Basics

มนุษย์เป็นสิ่งมีชีวิตที่มีวิวัฒนาการของการเรียนรู้มาจากฐานรากโดยใช้สัญชาต ญานที่ฝังอยู่ในตัวไม่แตกต่างจากสัตว์ทั้งหลาย การพัฒนาด้านทักษะการสังเกต(Observation)ของมนุษย์ตั้งแต่แรกเริ่มเป็นสิ่งจำเป็นที่ต้องปลูกฝังอยู่ในกระบวนการเรียนรู้ตลอดเวลา OK Model ทั้งสามโมเดลต่อไปนี้ สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการเรียนรู้ในของมนุษย์ โดยปรับใช้ให้สอดคล้องกับพัฒนาการของมนุษย์ตามวัย ดังนี้


 

  1. OK Model: Basic Learning Procedure



 

โมเดล1 ข้างต้นนี้ ควรนำมาพัฒนาการเรียนรู้กับมนุษย์ตั้งแต่แรกเกิดจนสิ้นสุดวัยเด็ก(Nursesary to Primary:อายุแรกเกิดจนถึง12 ปี) โดยแต่ละขั้นตอนมีลำดับขั้นดังนี้

  1. Observing: ทำการสังเกต โดยพ่อ แม่ ผู้ปกครอง และครู ควรจัดสถานะการณ์ให้ผู้เรียนได้ศึกษาจากสิ่งหรือปรากฎการณ์ต่างๆ โดยการฝึกทักษะการใช้ประสาทสัมผัสทั้งห้า( การมองเห็น การได้ยิน การสัมผัส การดมกลิ่น และการลิ้มรส) กับสิ่งหรือปรากฎการณ์ต่างๆเหล่านั้น
  2. Comparing: ทำการเปรียบเทียบ กับสิ่งต่างๆ โดยให้ผู้เรียนได้คาดคะเนจากการสัมผัสโดยใช้อวัยวะส่วนต่างๆของร่างกายและฝึกทักษะการใช้เครี่องมือพื้นฐานเพื่อทำการเปรียบเทียบ อาทิเช่น การชั่ง ตวง วัด เครื่องคิดเลข หรือคำนวณเลขง่ายๆ เป็นต้น
  3. Classifying: นำผลจากการเปรียบเทียบมาดำเนินการจัดเป็นหมู่ พวกเพื่อให้ง่ายต่อการที่จะเชื่อมโยงกับสิ่งที่เคยรับรู้หรือเป็นความรู้มาก่อนในขั้นที่ 4
  4. Transfering: นำผลลัพทธ์จากขั้นที่ 2 และ/หรือ 3 มาทำการเชื่อมโยงกับสิ่งหรือปรากฎการณ์ต่างๆที่เคยรับรู้หรือที่เป็นความรู้มาก่อน เพื่อที่จะนำไปสู่การอนุมานหรือสรุป
  5. Infering: ทำการอนุมานหรือสรุปสิ่งกำลังศึกษาจากขั้นตอนที่1-4 ซึ่งจะเป็นความรู้ใหม่ที่ได้รับจากกระบวนการเรียนรู้ ซึ่งจะเรียกกระบวนการเรียนรู้นี้ว่า รูปแบบความรู้ที่เกิดจากการการสังเกต(Observing KnowledgeModel)และจะเรียกสั้นๆว่า OK Model


     

  6. OK Model; Cyclical Learning


 



 

โมเดล 2 ข้างต้นนี้ ควรนำมาพัฒนาการเรียนรู้กับมนุษย์ตั้งแต่วัยแรกรุ่น จนเข้าสู่วัยผู้ใหญ่(Secondary:อายุ12 ปีจนถึง17 ปี) โดยกระบวนการเรียนรู้ในแต่ละขั้นตอนทำนองเดียวกับโมเดลที่1 เพียงแต่สีงหรือสถานะการณ์ต่างๆที่จัดให้ผู้เรียนศึกษาควรซับซ้อนมากขึ้นตามพัฒนาการเรียนรู้ที่เขาได้รับมา และเน้นการจัดสถานการณ์การเรียนรู้ให้มีความต่อเนื่องจนเป็นวัฎจักร( Cycle)

  1. Adult/Experiential Learning Process; Applied OK Model


โมเดล 3 ได้ประยุกต์การจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบ OK model 1 & 2 ข้างต้นเชื่อมโยงต่อเนื่องกับ
แนวความคิดการจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบผู้ใหญ่ของ Knowles Malcolm S & Kolb, David A


 

by Surapong Ngamsom,

April, 2009

Classroom English for EIS project


Classroom English

 
Why should we use classroom English?

 

  1. Using English as much as possible in your classes, will emphasis to your learners that the English lesson or others lesson (in English) is very different from any other lesson in the school day. It will help to maintain a good English speaking atmosphere.
  2. If you give them instruction, ask questions, and make comments in English, the learners will have to listen carefully to what you say all the time. This will keep them thinking in English.
  3. It is important, from early stages of learning, to avoid translation as much as possible and make the learners think in that language.
  4. Feelings of success and confidence will help your learners overcome the difficulties in learning a foreign language or a second language. If you keep using the same instructions questions and comments, even the weaker learners will begin to understand – and this will help their confidence too.

 


 

How much classroom English should we use?

 

You know that beginners and young learners will not understand you if you say every thing in English. If they don't understand your instruction, they won't know what to do and they will become confused and stressed.
So, too much English too quickly may be bad for the learners' confidence and for the way they learn. But if translate all the classroom English you use, this will also be bad. For example, you give instruction "Take out your book, please". Then you translate it into your own language. Then you say, "Open your books at page twenty-nine, please" and again you translate. Very quickly, the learners may stop listening to the English because they know you will give a translation. In this way, you may create lazy learners.
    You should aim to use English for all simple instructions, questions and comments.
In addition, I would like to suggest for recognition on the principle teaching a foreign language is using SSF model: S-Simple, S-Short, and
F- Familiar
and learning process as basic science learning skill such as,
observing, comparison, classification, transferring and inferring. In these ways will help the learners more English confidence.

 

The following activities (1-12) are classroom English that often using in your class.
(Ref. Oxford University, 2004)



 

1. Starting the lesson

 

'Good morning'
(or 'Good afternoon')


 

Sit down, please.

 

Take out your books.
pens.
homework.


 

Open your books at page (number).

 

Give me your homework, please.

 

2. Pronunciation and repetition

 

Listen.
Listen carefully.

 

Listen to me
(name)

 

Watch and listen.

 

Everyone repeat after me
(Name)

 

Say it again, please

more slowly

louder

 

Say the whole sentence, please.
Repeat
Read

 

Say it in English please, not (Thai)
What is this word in our/your language?

 

Where is the stress in this word?


 

3. Activities in class

 

Listen to me!

 

Everyone, repeat after me.
Girls,
Boys,
(Name)

 

Take out your pens.
pencils
coloured pencils.

 

Draw a picture of a……….. (Object).

Colour the picture.
Copy these words into your books.

 

Rule a line under the word ……(a word), please.
I want you to do exercise seven.

Answer the questions on page six.

Do you understand what to do?
Don't start yet.
You can start now.
Put your hand up if you have finished.

haven't


 

4. Working alone and together
4.1 One learner            
'I want you to work on your own.    
…….'(Name), come to the front, please.'
'Go back to your seat, please.'
…………………………………………………………
4.2 Two learners (pairs)
'I want …… (name)
to work with …… (name).'

'Get into pairs.'
TEACHER

'Has everyone got a partner?'


(OR '……(Name), have you got a partner?')

LEARNER(S) 'Yes' OR 'No'

(OR 'Yes, I have.' OR 'No, I haven't.')
……'(Name)
and
…….(name), come to the front, please.'

'Go back to your seats, please.'
'Compare your answers with your partner.'

 


 


 


 

4.3 Three or more learners (groups)
'I want you to work in groups of three people.'
'Get into groups of
four

Five

'This is group one.'
Two.'
'I want (name), (name), and (name) to work in group one.'
'Get into your groups now, please.'
TEACHER
'Is everyone in a group?'

(OR '….(Name), are you in a group?')
LEARNER(S)
'Yes' OR 'No.'

(OR 'Yes, I am.' OR 'No, I'm not.')
'Group (number), come to the front, please.'
'Go back to your seats, please.'
'I need a volunteer from each group to
write the answers.'

'Pick one person from your group to
draw a picture.'

……………………………………………………………………………………..
  1. Language note
'Work on your own', but 'Work in pairs/groups.'


 


 

5. Board work
'Everyone look at the board, please.'
'…….(Name), come to the board, please.'
'Write ……(a word) on the board, please.'
'Draw a picture of ……..(an object) please.'
OR 'Put your picture on the board, please.'
'Underline…….. (a word), please.'
'Thank you. Go back to your seat, please.'
'Everyone,
read this word.'

'(Name),

 

'Say it again.'

 

'Everyone, read these words.'

'(Name),
'Say them again.'

 

'Everyone,
repeat after me :………..( a word or
phrase).'


'(Name),

'Copy these words into your books.'

 

'What is this word in….. (our language)?'
(the name of your language)
'Do you understand?'
'Put up you hand if you don't understand.'

 

6. Working with books
6.1 Getting books ready
'Take out your books, please.'
'….(Name), give out the books, please.'
TEACHER
'Who hasn't got a book?'

LEARNER

'I haven't.'

(OR LEARNERS 'We haven't.')
'….(Name), share your book with ….(name), please.'
…………………………………………………………………………
6.2 Looking at books
'Open your books at page …..(NUMBER), please.'
'Turn to page ….(NUMBER), please.'
'Turn over, please.'
'Look at the picture, please.'
TEACHER
'Can you see ….. a OR an (item in picture)?'

             some (item in picture)?'
LEARNER
'Yes, I can.'

(OR 'No, I can't.')
'Point to a ....(item in picture), please.'
'Point to some ....(item in picture), please.'
'Look at exercise ....(NUMBER), please.'
'Point to

.................................................................................
6.3 Language notes
Remember these combinations of verb and preposition:
    take        out

    give        out

    open        at

    look        at

    turn        to

    point        to

    turn        over

    fill        in

    start        at

You can say 'textbook' or 'course book', but always say 'dictionary', not' dictionary book'.

 

.....................................................................................................
7. Cassette recorder and video
7.1 Cassette recorder
    'Let's listen to the cassette now.'
    'Listen to the cassette.'

 

    'Can you all hear?'
    'Put up your hand if you can't hear.'
    'Stop talking and listen.'

 

    'Listen carefully.'

 

    'Did you hear the
……………..?

    'Listen again.'

 

    'I'll play it again.'

 

    'Listen and repeat all together.'

 

    'Listen and tell me
…………………….'

    'Listen and answer the questions.'
7.2 Video
    'Let's watch the video now.'
    'Watch the video.'

 

    'Can you all see?'
    'Put up your hand if you can't see.'
    'Stop talking and watch.'

 

    'Watch carefully.'

 

    'Did you see the ………………..?

    'Watch again.'

 

    'I'll play it again.'
    'Watch and answer the questions.'

 


 


 

8. Games and songs
8.1 Games
    'Now we'll play a game.'
    'Get into two teams.'
    'Guess
what it is.'

         Where
Who
    'Guess what's missing.'

TEACHER 'Whose turn is it?'


LEARNER
'It's mine.'

'It's ...(name's).'
LEARNERS
'It's ours.'

    'Now it's your turn.'
    'It's.... (name's) turn now.'
    'A point for team TWO.'
    'This team has won.'
    'Well done!'

 

8.2 Songs
    'Now we'll sing a song.'
    'Let's all sing a song.'
.............................................................................
  1. Language note
    Remember, 'Guess what/where/who
    it is', not 'who is it'.
    Useful words and phrases for playing games:
    'winner'         'The next round.'
    'loser'            'It's a tie.'
    Useful words and phrases for singing songs:
    'winner'        'The next round.'
    'loser'            'It's a tie.'
    Useful words and phrases for singing songs:
    'verse'
    'chorus'
............................................................................

 

  1. Checking understanding
    TEACHER

    '[Name],
    is that right? '

                (OR '[Name],is that right or wrong?')
    LEARNER
    'Yes, it is.' OR ' NO, it isn't.'

    (OR 'It's right.' OR 'It's wrong.')

     

    'What is the right answer?'
    'What do you think?'
    'Has anybody else got an idea?'

     

    'Put up your hand if you don't understand'

     

    LEARNER 'Please, I don't understand'
    TEACHER 'What don't you understand? Tell me in
            [the name of your language]'

     

    'Tell me in..... [the name of your language] what you have to do.'
    '[Name], tell ....[name] in your own language what you have to do.'
    'Put up your hands if you know the answer.'

     


     


     


     

    1. Classroom control
        'Sit down, please.'
        'Everyone
    sit down, please.'
        '[Name]
        'Quiet, please! '

        '[Name] be quiet, please.'

        'Stop talking! '
        'Listen! '
        'Listen carefully! '
        'Listen to me.'

    [name].'

         the tape.'
        '(Name), turn round, please.'
        'Sit still, please.'
        Sit still and listen.'
        'Sit still and listen to me.'
                 (name).'
                 the tape.'
        'Look at me,     please.'
             the board,    

     


     

        'Are you ready?'
        'Don't start yet.'
        'Start now!'
                            
        'Stop
    writing,     please.'

    working,
             what you are doing,
        
    'Stand up, please.'
        '....(Name) stand up, please.'
        '....(Name) come here, please.'
        'Go back to your seat, please.'
        'Hurry up!'
        'Be careful!'
        'Don't touch!'

     


     


     

    11. Teacher comments
    *****        'Excellent!'
                'Very good!'
                'That's excellent!'
                 very good!'
                'Very well done!'
    …………………………………………………………………….
    ****        'Good!'
                'That's good!'
                'Well done!'
                'Great!'
                'Yes, that's right-good!'
    ……………………………………………………………………

     


     


     

    ***    'That's it!'
            'Yes!'
            'OK!' (but please only use this occasionally to avoid lazy use by learners)

     


     


     

            To show improvement
            'That's better!'
            'That's better-well done!'

     

            To encourage progress
            'That's nearly right-try again!'
            'That's almost right-try again!'
    ………………………………………………………………………
    **        'Not quite right- try again!'
            'Not quite right- will someone else try?'
            'Not quite right! ....(Name), you try!'
    ……………………………………………………………………..
    *            'No-that's not right. Try again!'
                'No-that's not right. Will
    someone else try?'
                'No-that's not right.....(Name), you try!'
    ……………………………………………………………………………………
    Language note
        Remember, 'very good', not 'very well.'
    ...................................................................................

     

    12. Ending the lesson
        'This is your homework.'

     

        'I want you to do exercise nine.'
                learn the song.'
                colour the picture.'
                draw a picture of………'
                learn these new words.'

     

        'Close your books, please.'
        'Put your books away, please.'
        OR '.... (Name), collect the books, please…..' …..and put them on my desk.'

     


     


    Designed by Mr. Surapong Ngamsom

    October 2006

     

วันพุธที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2552

The Innovation of New Bilingual in Thailand

EIS: นวัตกรรมสองภาษารูปแบบใหม่ กลยุทธ์ในการขับเคลื่อนการปฏิรูปการเรียนรู้แบบพอเพียง


 

surapong.eis.th@gmail.com, July, 2009


 

นับแต่ปีการศึกษา2540 เป็นต้นมา ผลการจัดการศึกษาของโรงเรียนสุนทรภู่พิทยาจากที่เคยเป็นโรงเรียนดีเด่นจนได้รับรางวัลโรงเรียนพระราชทานเมื่อปีการศึกษา 2530 มีแนวโน้มตกต่ำลงมาโดยตลอด อาทิเช่น จำนวนผู้เรียนลดลงจากจำนวนนักเรียนกว่า 1,000 คนเมื่อปีการศึกษา 2537 เหลือเพียงประมาณ 600 คน ในปีการศึกษา 2547 นักเรียนขาดความกระตือรือร้นต่อการเรียน ไม่เข้าห้องเรียน ผู้ปกครองนักเรียนเอาใจใส่ ติดตามผลการผลการเรียนของบุตรหลานของตนและ มีส่วนร่วมต่อการจัดศึกษาของโรงเรียนน้อยมาก ผลการประเมินคุณภาพมาตรฐานการจัดการศึกษาของ สมศ.รอบแรก (2546) พบว่าครูไม่เน้นการจัดการศึกษาและการเรียนการสอนโดยคำนึงถึงผู้เรียนเป็นสำคัญ ผลสัมฤทธิ์ทางด้านการเรียนวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และภาษาอังกฤษลดลงมาโดยตลอด โดยเฉพาะอย่างยิ่งผลการทดสอบการศึกษาแห่งชาติวิชาภาษาอังกฤษเกือบต่ำที่สุดและคะแนนเฉลี่ย ๕วิชารวมกันจัดอยู่ในกลุ่มต่ำสุดเมื่อเปรียบเทียบกับโรงเรียนสังกัดกรมสามัญศึกษาเดิมในทั้งในจังหวัดระยองและประเทศไทย(2546-2547)

ในภาคเรียนที่ 2/2547 หลังจากที่ผู้อำนวยใหม่เข้ารับตำแหน่ง จึงดำเนินการปรับปรุง พัฒนาการจัดการศึกษาโดยมุ่งเน้นที่จะแก้ปัญหาดังกล่าวข้างต้นโดยทดลองจัดการเรียนการสอนรูปแบบสองภาษาในวิชาคณิตศาสตร์ กับนักเรียนในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 จำนวน 3 ห้องเรียน โดยเรียกรูปแบบการจัดการเรียนสองภาษานี้ว่ารูปแบบEIS (English for Integrated Studies) จนได้รับความสนใจจากนักเรียน ผู้ปกครองนักเรียน ครู และชุมชน ในต้นปีการศึกษา 2548 จึงดำเนินการขยายผลจัดการเรียนการสอนรูปแบบสองภาษา วิชาคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ คอมพิวเตอร์ และภาษาอังกฤษ ในชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1,2 และ 4 รวม 9 ห้องเรียน รวมจำนวนนักเรียน 276 คน โดยได้ดำเนินการบริหารจัดการเรียนการสอนเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ โดยหลัก PIL คือหลักการมีส่วนร่วม (P: Participation) การบูรณาการ (I: Integration) และการเรียนรู้ (L: Learning) และนิเทศการจัดการเรียนการสอนโดยใช้บทบาทผู้นำทางการสอน(Instructional Leader)เน้นแบบ Coaching &
Mentoring ตลอดจนกำกับติดตามผลการดำเนินงานเชิงระบบ P-D-C-A Cycle ผนวกกับแนวคิดการพัฒนาภาษาอังกฤษรูปแบบสองภาษา ตามแนวทางของผู้อำนวยการสุรพงศ์อันเป็นผลงานทางวิชาการผู้อำนวยการเชี่ยวชาญ (2547) ได้รับการเงินสนับสนุนจากผู้ปกครองนักเรียนโดยเฉลี่ยประมาณรายละ 1,000 บาทต่อภาคเรียนและเงินอุดหนุนจากองค์การบริหารส่วนจังหวัดระยอง
600,000 บาท เพื่อดำเนินการพัฒนาศักยภาพของครูไทยด้านการใช้ภาษาอังกฤษเป็นสื่อการสอนร่วมกับโครงการหลักสูตรนานาชาติมหาวิทยาลัยบูรพาตลอดปีการศึกษา 2548 อีกทั้งส่งเสริมให้ครูได้พัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา กระบวนการเรียนการสอน สื่อการเรียนการสอนและ ระบบการวัดและประเมินผลการเรียนแนวใหม่ที่เน้นพฤติกรรมการเรียน ตามหลักการของ รูปแบบEIS ผลการดำเนินการของโรงเรียนที่เน้นการเป็นผู้นำทางด้านการบริหารหลักสูตรและการสอน และจากผลการศึกษาวิจัยผลการดำเนินการโครงการรูปแบบ EIS พบว่าผู้เรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางด้านการเรียนภาษาอังกฤษสูงกว่านักเรียนปกติทั้งในระดับชั้นเดียวกันและต่างระดับชั้นอย่างชัดเจน ผู้เรียนสามารถและกล้าที่จะใช้ภาษาอังกฤษสื่อสารกับชาวต่างชาติได้มากขึ้นอย่างเห็นได้ชัดเจน อีกทั้งผู้ปกครองสนใจให้การสนับสนุนและเอาใจใส่ต่อการจัดการเรียนการสอนรูปแบบ EIS เป็นอย่างมาก ตลอดจน ครูผู้สอนวิชาคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ และคอมพิวเตอร์เดิมที่ไม่เคยใช้ภาษาอังกฤษเป็นสื่อการสอนมาก่อน ได้เรียนรู้และพัฒนาทักษะการใช้ภาษาอังกฤษในระหว่างการสอนและการทำงานปกติ ( On- the- Job Learning) ตลอดระยะเวลา 1 ปี จนทำให้ครูส่วนหนึ่งสามารถจัดการเรียนการสอนโดยใช้ภาษาอังกฤษเป็นสื่อในวิชาเดิมได้เกือบไม่แตกต่างจากครูต่างชาติ

จากวิสัยทัศน์ภายใต้กระบวนการมีส่วนร่วมของประชาคมโรงเรียนที่ว่า "ภายในปี2552จะมุ่งพัฒนาให้ผู้เรียนมีบุคลิกภาพอันเป็นสากล เป็นโรงเรียนแห่งการคิด และชุมชนแห่งการเรียนรู้"
ดังนั้น
ในปีการศึกษา 25492551 นอกเหนือจากแนวทางการบริหารจัดการดังกล่าวแล้วข้างต้นยังได้นำหลักการของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงโดยเฉพาะการนำเงื่อนไขด้านคุณธรรมพื้นฐานปลูกฝังในกระบวนการเรียนการสอนที่เน้นหลักคิดแบบOK Model
ผ่านระบบวัดและประเมินผลผู้เรียนบนหลักการคุณธรรมในทุกรายวิชา นำผลการเรียนรู้แจ้งให้ผู้เรียนรับทราบทุกๆสองสัปดาห์ และให้ผู้ปกครองนักเรียนรับทราบและร่วมกันแก้ปัญหาพฤติกรรมและการเรียนรู้ของผู้เรียนทุกภาคเรียนมาโดยตลอด อีกทั้งได้ปรับระบบการบริหารจัดการมุ่งเน้นผู้เรียนเป็นหัวใจของการจัดการ ได้จัดหาเจ้าหน้าที่ธุรการมาทำงานแทนงานธุรการของครูเดิม เพื่อคืนครูเข้าสู่ห้องเรียน

จนส่งผลให้ผู้เรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางด้านการเรียน( NT/O-NET)ใน 5 กลุ่มวิชาหลักเช่น วิชาภาษาอังกฤษ คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ และภาษาไทย สูงขึ้นมาโดยตลอดจนเกือบไม่แตกต่างจากนักเรียนในโรงเรียนยอดนิยมที่มีชื่อเสียง นักเรียนสามารถเข้าสอบเข้ามหาวิทยาลัยได้สูงมากอย่างที่ไม่เคยปรากฏมาก่อน และยังส่งผลให้นักเรียนกลุ่มนี้หลายคนเป็นผู้นำนักศึกษาที่ทำชื่อเสียงให้มหาวิทยาลัยต่างๆ และสอบชิงทุนไปต่างประเทศได้ อีกทั้งทำให้ครูโรงเรียนสุนทรภู่พิทยาพัฒนาสมรรถนะและทักษะทั้งด้านการใช้ภาษาอังกฤษและเทคนิคกระบวนการจัดการสอนสูงขึ้นและสามารถจัดการเรียนการสอนด้วยภาษาอังกฤษไม่แตกต่างจากครูต่างชาติที่สอนในโรงเรียนสองภาษาในประเทศไทย จนได้รับการยอมรับจากเครือข่ายให้เป็นผู้นำการจัดการเรียนการสอนสองภาษารูปแบบ EIS ของประเทศไทย

ปัจจุบันนี้โรงเรียนสุนทรภู่พิทยา นำกระบวนการจัดการเรียนการสอนรูปแบบ EIS ซึ่งเปรียบเสมือนเป็นกลยุทธ์หลักในการขับเคลื่อนกระบวนการเรียนรู้เพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ผู้เรียน ดำเนินการจัดการเรียนการสอนให้กับผู้เรียนทุกคน สนองนโยบายเรียนฟรี 15 ปีอย่างมีคุณภาพของรัฐบาล
นอกจากทำให้โรงเรียนสุนทรภู่พิทยาซึ่งเป็นโรงเรียนมัธยมศึกษาประจำตำบลโรงเรียนเกือบหนึ่งเดียวในประเทศไทยที่ยกระดับการพัฒนาการจัดการศึกษาจนทำให้ผลการเรียนรู้ของผู้เรียนเข้าอยู่ในกลุ่มโรงเรียนยอดเยี่ยมของประเทศไทยในปีการศึกษา 2552 แล้วยังทำให้โรงเรียนสุนทรภู่พิทยาได้รับการยอมรับจากหน่วยงานต่างๆ อาทิเช่น องค์การบริหารส่วนจังหวัดระยอง สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ สถาบัน ELTC มาเลเซีย เป็นต้น ให้เป็นโรงเรียนผู้นำการจัดการเรียนการสอนด้วยภาษาอังกฤษหรือหลักสูตรสองภาษาแนวใหม่ รูปแบบ EIS
ซึ่งเปรียบเสมือนเป็นรูปแบบสองภาษาแบบพอเพียง มีโรงเรียนเครือข่ายไม่น้อยกว่า
50 โรงเรียน ซึ่งรวมทั้งเครือข่ายโรงเรียนร่วมพัฒนาในประเทศและต่างประเทศอาทิเช่นสิงคโปร์ จีน และมาเลเซียเป็นต้น

(ดูเพิ่มเติมได้ที่ http://sites.google.com/site/surapongeisth, )


 

ตารางที่ 4:

กราฟเปรียบเทียบคะแนนเฉลี่ย O-Net ม. 6 โรงเรียนสุนทรภู่พิทยา (SPSS) ปีการศึกษา 2548 - 2551


 


 

ที่มา: สทศ

หมายเหตุ นักเรียน EIS จบม.๖ รุ่นแรก ปีการศึกษา 2550

ตารางที่ 2: กราฟเปรียบเทียบคะแนนNT/O-Net ม. 3 โรงเรียนสุนทรภู่พิทยา (SPSS) ปีการศึกษา 2548 - 2551


 

ที่มา: สทศ.
หมายเหตุ นักเรียนEIS จบม.3 รุ่นแรก ปีการศึกษา 2549


 

ตารางที่ 3: แสดงการเปรียบเทียบคะแนนNTเฉลี่ยวิชาภาษาอังกฤษระหว่างนักเรียน EP และ EIS


 

ที่มา: สพท.ระยอง ๒

ตารางที่ 4: แสดงการเปรียบเทียบ การจำแนกกลุ่มโรงเรียน จำนวนโรงเรียน ตามกลุ่มคะแนนเฉลี่ย มัธยมศึกษาตอนต้น (จำนวนโรงเรียนทั่วประเทศ: ชลบุรี: ระยอง) และมัธยมศึกษาตอนปลาย (จำนวนโรงเรียน ทั่วประเทศ: ชลบุรี: ระยอง)
ตามคะแนน O-Net ปีการศึกษา 2551

กลุ่มคะแนนเฉลี่ย

จำนวน
ร.ร. / คะแนนเฉลี่ย

มัธยมศึกษาตอนต้น

(จำนวนโรงเรียนทั่วประเทศ: ชลบุรี: ระยอง)

มัธยมศึกษาตอนปลาย

(จำนวนโรงเรียน ทั่วประเทศ: ชลบุรี: ระยอง)

กลุ่มสูงสุด
(1)

269 : 5 : 3

277 : 11 : 6

คะแนนเฉลี่ยของSPSS

42.50

38.57

คะแนนเฉลี่ยกลุ่มสูง

37.94

35.76

กลุ่ม 2

593:15:12

563:15:9

คะแนนเฉลี่ยกลุ่มกลาง

34.10

32.08

กลุ่ม3

861:6:3

851:4:4

คะแนนเฉลี่ยกลุ่มต่ำ

31.97

30.05

กลุ่ม4

686:5:1

649:1:0

รวม

2409:31:19

2409:31:19

ที่มา: สำนักการจัดการมัธยมศึกษาตอนปลาย สพฐ.
และจาก สทศ.

The Second Decade Educational Revolution, Thailand

การปฏิรูปการจัดการศึกษาเชิงระบบของกระทรวงศึกษาธิการ

เพื่อพัฒนาทักษะกระบวนคิดทั้งระบบ

             โดย สุรพงศ์ งามสม ประธานเครือข่ายครู EIS แห่งประเทศไทย

ถ้าหากทุกคนหันกลับคิดว่ากระทรวงศึกษาธิการเปรียบเสมือนโรงเรียน วิทยาลัย หรือมหาวิทยาลัยที่มีขนาดใหญ่ เป้าหมายสูงสุดสำคัญที่สุดคือประชาชนทุกคนในชาติได้รับการบริการด้านการศึกษาให้เป็นคนดี คนเก่งและมีความสุข ท่านรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเปรียบเสมือนครูใหญ่ พรบ.การศึกษาแห่งชาติพ.ศ.๒๕๔๒ เปรียบเสมือนหลักสูตรแกนกลางหรือพิมพ์เขียวที่รมต.จะต้องเป็นผู้นำ(Leader) ของบุคลากรทั้งมวลในกระทรวงศึกษาธิการให้นำหลักสูตรแกนกลาง (พรบ.) มาดำเนินการเพื่อให้เกิดผลลัพธ์ให้สอดคล้องเป็นไปตามเจตนารมณ์ของหลักสูตรนั้น (พรบ.การศึกษาแห่งชาติ ๒๕๔๒) ทั้งนี้ต้องคำนึงถึงนโยบายของรัฐบาล และรัฐธรรมนูญการปกครองของประเทศด้วย ซึ่งสามารถแสดงแผนผังการดำเนินงานของศธ.เพื่อให้เห็นภาพชัดเจนถึงความเกี่ยวข้องของหน่วยงานต่างๆได้ดังนี้


 


 


 


 


 




 


 


 

ถ้ากระทรวงศึกษาธิการโดย รมต.ศธ.ได้ใช้ภาวะผู้นำทำให้หน่วยปฏิบัติ ๕ องค์กรหลัก หน่วยสนับสนุนส่งเสริมและหน่วยตรวจสอบประเมินผลทั้งสามกลุ่มข้างต้นปฏิบัติภารกิจเสมือนให้เป็นโมเดลแบบอย่างต่อหน่วยงานย่อย โดยดำเนินการให้เป็นตามหลักการและเจตนารมณ์ของ พรบ.การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.๒๕๔๒ (และที่แก้ไขปรับปรุง พ.ศ.๒๕๔๕)เพื่อให้ผลผลิตปลายทางได้แก่ เยาวชน ผู้เรียนและประชาชนคนไทยทั้งประเทศเป็นคนเก่ง ดี มีสุข แล้วจะส่งผลต่อ

วิวัฒนธรรมการดำเนินงานของหน่วยต่างๆ

ดังนั้นการจัดให้มีการประชุมเมื่อ ๑๑-๑๒ ก.ย.๒๕๕๒โดยรมต.ศธ.เป็นผู้นำในการโฟกัสผลลัพธ์จากการดำเนินการจัดการศึกษาในรอบ ๑๐ปีที่ผ่านมาเพื่อที่จะกำหนดแนวทางปฏิรูป และวางกรอบนโยบายเพื่อให้เกิดเอกภาพภาคปฏิบัติซึ่งสำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา(สกศ.) ได้กำหนดเป็นประเด็นสำคัญใน 3 ประเด็นดังนี้

1. การเรียนการสอนทุกระดับทุกประเภท (ปรัชญาและจุดมุ่งหมาย โครงสร้าง หลักสูตรและเนื้อหาสาระ กระบวนการเรียนการสอน กิจกรรรม การเรียนนอกห้องเรียน การวัดและประเมินผล การสอบ NT ONET และ INET)

               2. ระบบการคัดเลือกเข้าศึกษาต่อทุกระดับทุกประเภท การสอบ GAT/PAT และการเชื่อมโยงสู่การเรียนการสอน ระบบการคัดเลือกเข้าศึกษาต่อ และความสอดคล้องกับความต้องการของสถาบัน สาขาวิชา และผู้เรียน

               3. คุณภาพของผลผลิตจากระบบการศึกษา (ความสอดคล้องกับตลาดแรงงาน ระบบประกันคุณภาพภายในและภายนอก การเทียบโอนความรู้และประสบการณ์ ความเชื่อมโยงของระบบการศึกษาและการทำงาน กรอบมาตรฐานคุณวุฒิแห่งชาติ)


 

    และท่านรัฐมนตรีในฐานะครูใหญ่เป็นประธานการประชุมได้สรุปประเด็นเพื่อให้การอภิปรายกระชับและตรงกับประเด็นปัญหาด้านการจัดการศึกษาที่เกิดขึ้นในสังคมไทยและเพื่อแสวงหาคำตอบเพื่อนำไปสังเคราะห์เพื่อดำเนินการในทางปฏิบัติอีก ๑ เดือนต่อไป โดยได้โฟกัสเป็น ๖ หัวข้อเรื่องดังนี้

1. การเรียนการสอนในปัจจุบัน สอนให้เด็กคิดวิเคราะห์หรือไม่ (หลักสูตร การเรียนการสอนเป็นอย่างไร)

            2. การออกข้อสอบในปัจจุบัน ONET, GAT/PAT สอดคล้องกับการเรียนการสอนหรือเปล่า

            3. เด็กเรียนในห้องเรียนมากไปหรือไม่ และการเรียนรู้นอกห้องเรียนควรทำอย่างไร

            4. ระบบการคัดเลือกเข้าศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษา GAT/PAT เหมาะสมหรือยัง สอดคล้องกับสิ่งที่ควรจะเป็นหรือยัง (เช่น ลดอัตราการออกกลางคัน)

            5. สถาบันอุดมศึกษาผลิตบัณฑิตมีคุณภาพตามความต้องการของประเทศหรือยัง

            6. ระบบการวัดผล ประเมินผลในทุกมิติเป็นระบบหรือกระบวนการที่เที่ยงตรง แม่นยำ เหมาะสมหรือไม่


 


โดยสรุปจากที่ประชุมและให้ข้อคิดเห็นเพิ่มเติมดังนี้

    ๑ การจัดการเรียนการสอนในปัจจุบันยังไม่ส่งเสริมให้ผู้เรียนโดยรวมคิดวิเคราะห์ยังไม่เป็นที่พึงพอใจ ต้องมีการปรับปรุงในกระบวนการเรียนการสอนของครูและบทบาทการบริหารจัดการของผู้บริหารโรงเรียน ทำอย่างไรที่จะให้ทุกส่วนที่เกี่ยวข้องกับผู้เรียน
เน้นผู้เรียนเป็นหัวใจสำคัญของการจัดการศึกษา ส่วนกลาง
ทั้งสพฐ. และเขตพื้นที่ควรจะต้องหันกลับทำหน้าที่สนับสนุน ส่งเสริม จูงใจและปรับวัฒนธรรมการทำงาน โดยการกระจายอำนาจการตัดสินใจลงสู่โรงเรียนหรือหน่วยปฏิบัติตรงกับผู้เรียนให้มากที่สุด ครูและผู้บริหารต้องได้รับการพัฒนาและต้องมิใช่วิธีการอบรมพัฒนาเดิมๆตามรูปแบบที่เขตพื้นที่การศึกษาดำเนินการที่ผ่านมา กระบวนส่งเสริมครูดี ครูเก่ง โรงเรียนดี โรงเรียนเด่น ผู้บริหารดี ผู้บริหารเด่น ต้องดำเนินการอย่างจริงจัง และพยายามสรรหา สร้างระบบเสริมเพื่อจูงใจให้ได้ คนดี คนเก่งมาเป็นครูและผู้บริหารโรงเรียน โดยเฉพาะผู้บริหารโรงเรียนที่จะใช้วิธีคัดเลือกและวิธีโยกย้ายเพื่อสับเปลี่ยนแบบเดิมโดยคำนึงแต่ปริมาณนักเรียนและความต้องการของผู้อยากโยกย้ายคงไม่ได้ผลเนื่องจากยังไม่ได้เน้นไปที่การแก้ปัญหาที่ผลผลิตและผลการดำเนินการอย่างแท้จริงเพียงแต่ส่งเสริมให้ผู้บริหารและครูมีความก้าวหน้าบนฐานของความพึงพอใจเสียเป็นส่วนใหญ่ จึงส่งผลให้การพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาซึ่งเปรียบเสมือนพิมพ์เขียวของการพัฒนาผู้เรียนมิได้ถูกดำเนินการนำไปใช้ในการพัฒนาผู้เรียนที่ถือว่าเป็นหัวใจสำคัญอย่างเต็มที่ การจัดการด้านการบริหารหลักสูตรจากส่วนกลางยังมิได้วิวัฒนธรรม คือยังเป็นการบริหารแบบจัดการ (Management)มากกว่าการบริหารแบบจูงใจ(Motivation) อาทิเช่นการจัดโครงสร้างเวลาเรียนและการกำหนดตัวชี้วัดมาตรฐานการเรียนรู้ชั้นปีในหลักสูตร 51ขาดการกระจายอำนาจไปสู่โรงเรียนเป็นลักษณะ Fix more than Flex
(flexible) และจะส่งผลต่อให้โรงเรียนเน้นด้านเนื้อหาวิชามากกว่ากระบวนการ
ซึ่งโดยที่ประชุมฯ เห็นว่าหลักสูตร 44ดีอยู่แล้วเพียงไปเน้นที่กระบวนการจัดการเรียนการสอน และพัฒนาโรงเรียนให้สามารถนำหลักสูตรไปใช้ให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้น แล้วผู้เรียนก็จะคิดวิเคราะห์ คิดสังเคราะห์เป็นและดีกว่าเดิม ซึ่งปัจจุบันมีโรงเรียนดีๆน่าสนใจมากๆอยู่ทั่วไป อาทิเช่น ลำปลายมาศพัฒนา (โรงเรียนนอกกะลา) รุ่งอรุณ กลุ่มโรงเรียนสองภาษารูปแบบใหม่(EIS) เป็นต้น

    ๒. การออกข้อสอบในปัจจุบัน O-NET, GAT/PAT สอดคล้องกับการเรียนการสอนหรือไม่นั้น ถ้าผู้ปฏิบัติที่รับผิดชอบสามารถสะท้อนปัญหาข้อ ๑ ได้
และนำมาพัฒนาปรับปรุง จะเป็นระบบที่ส่งเสริมทักษะกระบวนการคิดของโรงเรียนและตอบปัญหาและพัฒนาการคิดของสังคมได้ ข้อเสนอแนะ ทำไมไม่ลองเอาระบบการสอบ PSLE, N- Level, O- Level, A-level ของประเทศสิงคโปร์มาศึกษา
ในฐานะที่ผู้นำเสนอได้นำระบบการจัดการศึกษาของสิงคโปร์มาประยุกต์ในกระบวนการจัดการเรียนรู้และกระบวนการวัดและประเมินผลในโรงเรียน ตามยุทธศาสตร์ที่กำหนดไว้ในมาตรา ๒๖ พรบ.การศึกษาแห่งชาติฯ พบว่าตอบปัญหาข้อ ๑ ได้ครับ (ดูรายละเอียดเพิ่มเติมที่ http://sites.google.com/site/surapongeisth

)

    ๓. ห้องเรียนที่เหมาะสมในสถานการณ์เศรษฐกิจไทยปัจจุบัน ห้องเรียนละไม่เกิน ๔๐ คน ยังสามารถดำเนินการได้ดี
เฉกเช่นสิงคโปร์ห้องเรียนละ ๔๐ คนเช่นกัน ถ้ายึดสมรรถนะผู้เรียนตามหลักสูตรแกนกลางและพัฒนากระบวนการจัดการเรียนการสอนยึดผู้เรียนเป็นสำคัญไม่ทอดทิ้งนักเรียนคนใดคนหนึ่งไว้ข้างหลัง การจัดกิจกรรมนอกห้องเรียนที่เหมาะสมกับบริบทของแต่ละโรงเรียนต้องมากขึ้น แล้วนำระบบที่ได้รับการพัฒนาแล้วใน การจัดหลักสูตรข้อ ๑ และการจัดทดสอบในข้อ ๒ มาส่งเสริมและกำกับ ตรวจสอบ

    ๔.
ระบบการคัดเลือกนักเรียน นักศึกษาเข้าเรียนต่อยังขาดเอกภาพ หลากหลายมากเกินไป โดยเฉพาะ ระบบการคัดเลือกเข้าเรียนในมหาวิทยาลัย ยังติดอัตตามากเกินไป ทำให้ประชาชนโดยเฉพาะผู้ปกครองต้องดิ้นรน ขวนขวายส่งเสริมให้ลูกหลานได้เรียนระบบเสริมกล่าว คือ ระบบโรงเรียนเสริมกวดวิชาเพราะเป็นห่วงเรื่องการสอบ
O-Net, GAT/PAT มากครั้งและการสอบตรงของแต่ละมหาวิทยาลัย ทำให้สูญเสียทางด้านเศรษฐกิจ และทำให้คนยากจน และที่ห่างไกลขาดโอกาส และไม่ส่งเสริมระบบกระบวนการเรียนการสอนในโรงเรียนโดยเฉพาะการสร้างให้ผู้เรียนมีทักษะการคิดวิเคราะห์ คิดสังเคราะห์ฯ ที่ประชุมเห็นว่าต้องมาโฟกัสระบบการคัดเลือกโดยเฉพาะเงื่อนของเวลาและความหลากหลายวิธีคัดของแต่ละมหาวิทยาลัยให้ชัดเจน โดยคำนึงถึงความเป็นเอกภาพ การสนับสนุนการเรียนรู้ในระบบโรงเรียน และส่งเสริมความเข้มแข็งทางด้านภูมิปัญญาของท้องถิ่นและสังคม เป็นไปได้หรือไม่ การคัดคนเข้าระบบอุดมศึกษาควรทำเป็น ๒ ทางเลือก คือ ประการแรกการรับตรง ต้องรับพร้อมกัน เพื่อสนับสนุนส่งเสริมท้องถิ่นและสังคมและปรัชญาของการบริการของมหาวิทยาลัย เฉกเช่นการรับนักเรียนของสพฐ.ในเขตพื้นที่บริการเป็นต้น และสองรับส่วนกลาง ทุกมหาวิทยาลัยรับพร้อมกันโดยทาง สกอ.เป็นผู้ดำเนินการเพื่อเปิดโอกาสให้ปัญญาชนทั่วทั้งประเทศได้เลือกเรียนในมหาวิทยาลัยตามความสนใจ พึงพอใจ เครื่องมือการคัดเลือกใช้ พรบ.การศึกษาฯ มาตรา 26 เป็นหลักการ และนำผล O-Net, GAT/ PAT (จาก สทศ. ) และ GPAX บวกPortfolio ความดีของนักเรียนของโรงเรียน
มาประกอบการพิจารณา และการสอบ GAT/PAT ไม่ควรเกิน ๒ ครั้งในรอบปี

ประการสุดท้ายของหัวข้อนี้เห็นว่าการจัดการทดสอบ GAT ม.ต้น ควรได้รับการสนับสนุนเพื่อให้เป็นการส่งเสริมและพัฒนากระบวนการจัดการเรียนการสอนในโรงเรียนและต้องสามารถคัดเลือก แยกแยะผู้เรียนได้ว่าคนใดสมควรเรียนต่อ ม.๔ เน้นวิชาการ หรือ ปวช.สายอาชีพ การจัดสอบ GAT ด้วยภาษาอังกฤษ ๕๐ % ขอให้เน้นด้านการสื่อสารใน ม.ต้น และต้องให้ธำรงไว้ต่อไป ซึ่งนอกจากจะทำให้โรงเรียนพัฒนากระบวนการเรียนการสอนภาษาอังกฤษ แล้วยังเป็นการยกระดับคุณภาพและสมรรถนะของคนไทยเทียบเคียงประชาคมอาเซียนในอีกไม่กี่ปีข้างหน้า ซึ่งในส่วนนี้ ถ้าผมมีโอกาสได้ส่งเสริมและพัฒนาโรงเรียนต่างๆในด้านกระบวนการจัดการเรียนรู้เฉกเช่นที่ผมได้ทำมาที่โรงเรียนสุนทรภู่พิทยา จ.ระยอง เพียงไม่เกิน ๓ ปี ประชาชนคนไทยสามารถสื่อสารภาษาอังกฤษได้ถ้วนหน้า และผลสัมฤทธิ์ผู้เรียนคณิต-วิทย์-ภาษาไทย สูงขึ้นอย่างแน่นอน    

๕. คุณภาพผลผลิตของการจัดการศึกษาอุดมศึกษาโดยภาพรวมยังไม่สะท้อนต่อความต้องการของสังคมโดยรวม เห็นได้ชัดเช่นที่ผ่านมา ครูที่สังคมควรได้รับกลับมิใช่คนเก่งที่มีมันสมองระดับชั้นต้นๆ ผู้เรียนครูในคณะศึกษาศาสตร์โดยส่วนใหญ่คือผู้ที่จะเข้าศึกษาในคณะต่างๆไม่ได้แล้ว ดังนั้นต้องมีการปรับ พัฒนาและส่งเสริมค่านิยมอย่างแท้จริง ทำไมระบบการคัดสรรครูของสิงคโปร์ทำให้ได้คนเก่งคนดีมาเป็นครู หน่วยนโยบายน่าที่จะสนใจและทำได้ในการปฏิรูประบบรูปแบบใหม่ แต่เมื่อเห็นความพยายามของรมต.ศธ.ที่จะดำเนินการเอาคนเก่งคนดีมาเป็นครูในระยะ ๕ ปีต่อไปนี้เป็นเรื่องที่ดีมากแต่อย่าลืมกลั่นครูน้ำเก่าซึ่งเป็นคนส่วนใหญ่ในโรงเรียน เดี๋ยวพอผสมปนเป แล้วจะเกิดครูพันธ์ทางที่ไม่พึงปรารถนา ทางแก้ไม่ยากครับเสริมสร้างโรงเรียนแนวใหม่เพื่อเป็นสถานประกอบการสำหรับรองรับการฝึกและถ่ายทอดประสบการณ์ให้กับการเตรียมครูพันธ์ใหม่ครับ

๖. สำหรับข้อนี้ ต้องมีการพัฒนามิใช่ยกเลิกเพราะโดยโครงสร้างของหน่วยงานเป็นระบบอิสระเพื่อทำหน้าที่ตรวจสอบที่ถูกสังคมโดยเฉพาะหน่วยปฏิบัติสะท้อนอยู่ตลอดเวลาไม่น่าเป็นห่วงครับ แต่ถ้าระบบนี้ขาดหายไปอันตรายมากประเทศไทย

ในความคิดส่วนตัวในฐานะผู้ปฏิบัติในระดับโรงเรียน ผู้นำสถานศึกษาเป็นกุญแจสำคัญในการที่ขับเคลื่อนภารกิจให้เป็นไปตามเจตนารมณ์ของพรบ.การศึกษา ฯ ตัวหลักสูตรแกนกลางเปรียบเสมือนพิมพ์เขียวของกระทรวงศึกษาธิการที่นำมาให้โรงเรียนมาขยายพิมพ์ให้พอเหมาะกับบริบทโรงเรียน ประเด็นคำถามสำคัญว่าระบบส่วนกลางได้สนับสนุน ส่งเสริม และเสริมสร้างให้ผู้บริหารโรงเรียนเข้าใจ ตระหนักและดำเนินการในการเป็นผู้นำด้านหลักสูตรและกระบวนการเรียนรู้อย่างเต็มที่หรือไม่และอย่างไร? ในยุคแห่งทศวรรษ Cyber Digit นี้ ผู้นำจำเป็นต้องเปลี่ยนวิถีคิด ปรับวิธีทำงาน บูรณาการการบริหารจัดการที่คำนึงถึงหลักธรรมาภิบาลมุ่งเน้นในด้านผู้นำทางด้านกระบวนการเรียนรู้โดยมีส่วนร่วมในบริบทของ SBM (ตัว S ต้องคิดเป็นสองนัยคือ บนฐานของผู้เรียน และบริบทของโรงเรียน) กล่าวสั้นๆคือทำอย่างไรผู้บริหารโรงเรียนต้องใช้ภาวะผู้นำโน้มนาวให้ทุกส่วนที่เกี่ยวข้องกับโรงเรียนเห็นว่ากระบวนการเรียนรู้เป็นเรื่องสำคัญที่สุด

ข้อเสนอแนะเพิ่มเติมเพื่อการเสริมสร้างสมรรถนะของผู้บริหารโรงเรียนจำเป็นต้องให้เขาเหล่านั้นเข้าใจและกระจ่างในหลักการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์(Human Resource Development)
บนหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง (ดูภาพข้างล่างต่อไปนี้ครับ)
และทักษะการใช้ภาษาอังกฤษให้สามารถสื่อสารเป็นภาษาที่สองผ่านทางระบบเครือข่ายอิเลคโทรนิค เพื่อให้เป็นผู้นำที่สอดรับและพร้อมนำในโลกยุค
Cyber Digit และในที่สุดผู้นำเหล่านั้นจะนำพาครูและถ่ายทอดอารยะธรรมเหล่านี้สู่เยาวชน ซึ่งเป็นหัวใจสำคัญที่สุดของกระทรวงศึกษาธิการครับ


สุดท้ายสำหรับกลยุทธ์ในการการกระจายอำนาจไปสู่หน่วยปฏิบัติที่ตรงต่อผู้รับบริการ
อยากเสนอแนะให้กระทรวงศึกษาธิการแปลงยุทธศาสตร์แบบมีส่วนร่วมเชิง Democracy ภายใต้การดำเนินการแบบ Decency สร้างระบบภูมิคุ้มกันแบบ Drug free ดำเนินการให้เห็นจริงในทางปฏิบัติ ผมเชื่อว่าทุกส่วนคงเข้าใจและนำ 3D ไปเป็นยุทธศาสตร์ในการดำเนินการได้ครับ