วันพุธที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2552

The Innovation of New Bilingual in Thailand

EIS: นวัตกรรมสองภาษารูปแบบใหม่ กลยุทธ์ในการขับเคลื่อนการปฏิรูปการเรียนรู้แบบพอเพียง


 

surapong.eis.th@gmail.com, July, 2009


 

นับแต่ปีการศึกษา2540 เป็นต้นมา ผลการจัดการศึกษาของโรงเรียนสุนทรภู่พิทยาจากที่เคยเป็นโรงเรียนดีเด่นจนได้รับรางวัลโรงเรียนพระราชทานเมื่อปีการศึกษา 2530 มีแนวโน้มตกต่ำลงมาโดยตลอด อาทิเช่น จำนวนผู้เรียนลดลงจากจำนวนนักเรียนกว่า 1,000 คนเมื่อปีการศึกษา 2537 เหลือเพียงประมาณ 600 คน ในปีการศึกษา 2547 นักเรียนขาดความกระตือรือร้นต่อการเรียน ไม่เข้าห้องเรียน ผู้ปกครองนักเรียนเอาใจใส่ ติดตามผลการผลการเรียนของบุตรหลานของตนและ มีส่วนร่วมต่อการจัดศึกษาของโรงเรียนน้อยมาก ผลการประเมินคุณภาพมาตรฐานการจัดการศึกษาของ สมศ.รอบแรก (2546) พบว่าครูไม่เน้นการจัดการศึกษาและการเรียนการสอนโดยคำนึงถึงผู้เรียนเป็นสำคัญ ผลสัมฤทธิ์ทางด้านการเรียนวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และภาษาอังกฤษลดลงมาโดยตลอด โดยเฉพาะอย่างยิ่งผลการทดสอบการศึกษาแห่งชาติวิชาภาษาอังกฤษเกือบต่ำที่สุดและคะแนนเฉลี่ย ๕วิชารวมกันจัดอยู่ในกลุ่มต่ำสุดเมื่อเปรียบเทียบกับโรงเรียนสังกัดกรมสามัญศึกษาเดิมในทั้งในจังหวัดระยองและประเทศไทย(2546-2547)

ในภาคเรียนที่ 2/2547 หลังจากที่ผู้อำนวยใหม่เข้ารับตำแหน่ง จึงดำเนินการปรับปรุง พัฒนาการจัดการศึกษาโดยมุ่งเน้นที่จะแก้ปัญหาดังกล่าวข้างต้นโดยทดลองจัดการเรียนการสอนรูปแบบสองภาษาในวิชาคณิตศาสตร์ กับนักเรียนในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 จำนวน 3 ห้องเรียน โดยเรียกรูปแบบการจัดการเรียนสองภาษานี้ว่ารูปแบบEIS (English for Integrated Studies) จนได้รับความสนใจจากนักเรียน ผู้ปกครองนักเรียน ครู และชุมชน ในต้นปีการศึกษา 2548 จึงดำเนินการขยายผลจัดการเรียนการสอนรูปแบบสองภาษา วิชาคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ คอมพิวเตอร์ และภาษาอังกฤษ ในชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1,2 และ 4 รวม 9 ห้องเรียน รวมจำนวนนักเรียน 276 คน โดยได้ดำเนินการบริหารจัดการเรียนการสอนเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ โดยหลัก PIL คือหลักการมีส่วนร่วม (P: Participation) การบูรณาการ (I: Integration) และการเรียนรู้ (L: Learning) และนิเทศการจัดการเรียนการสอนโดยใช้บทบาทผู้นำทางการสอน(Instructional Leader)เน้นแบบ Coaching &
Mentoring ตลอดจนกำกับติดตามผลการดำเนินงานเชิงระบบ P-D-C-A Cycle ผนวกกับแนวคิดการพัฒนาภาษาอังกฤษรูปแบบสองภาษา ตามแนวทางของผู้อำนวยการสุรพงศ์อันเป็นผลงานทางวิชาการผู้อำนวยการเชี่ยวชาญ (2547) ได้รับการเงินสนับสนุนจากผู้ปกครองนักเรียนโดยเฉลี่ยประมาณรายละ 1,000 บาทต่อภาคเรียนและเงินอุดหนุนจากองค์การบริหารส่วนจังหวัดระยอง
600,000 บาท เพื่อดำเนินการพัฒนาศักยภาพของครูไทยด้านการใช้ภาษาอังกฤษเป็นสื่อการสอนร่วมกับโครงการหลักสูตรนานาชาติมหาวิทยาลัยบูรพาตลอดปีการศึกษา 2548 อีกทั้งส่งเสริมให้ครูได้พัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา กระบวนการเรียนการสอน สื่อการเรียนการสอนและ ระบบการวัดและประเมินผลการเรียนแนวใหม่ที่เน้นพฤติกรรมการเรียน ตามหลักการของ รูปแบบEIS ผลการดำเนินการของโรงเรียนที่เน้นการเป็นผู้นำทางด้านการบริหารหลักสูตรและการสอน และจากผลการศึกษาวิจัยผลการดำเนินการโครงการรูปแบบ EIS พบว่าผู้เรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางด้านการเรียนภาษาอังกฤษสูงกว่านักเรียนปกติทั้งในระดับชั้นเดียวกันและต่างระดับชั้นอย่างชัดเจน ผู้เรียนสามารถและกล้าที่จะใช้ภาษาอังกฤษสื่อสารกับชาวต่างชาติได้มากขึ้นอย่างเห็นได้ชัดเจน อีกทั้งผู้ปกครองสนใจให้การสนับสนุนและเอาใจใส่ต่อการจัดการเรียนการสอนรูปแบบ EIS เป็นอย่างมาก ตลอดจน ครูผู้สอนวิชาคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ และคอมพิวเตอร์เดิมที่ไม่เคยใช้ภาษาอังกฤษเป็นสื่อการสอนมาก่อน ได้เรียนรู้และพัฒนาทักษะการใช้ภาษาอังกฤษในระหว่างการสอนและการทำงานปกติ ( On- the- Job Learning) ตลอดระยะเวลา 1 ปี จนทำให้ครูส่วนหนึ่งสามารถจัดการเรียนการสอนโดยใช้ภาษาอังกฤษเป็นสื่อในวิชาเดิมได้เกือบไม่แตกต่างจากครูต่างชาติ

จากวิสัยทัศน์ภายใต้กระบวนการมีส่วนร่วมของประชาคมโรงเรียนที่ว่า "ภายในปี2552จะมุ่งพัฒนาให้ผู้เรียนมีบุคลิกภาพอันเป็นสากล เป็นโรงเรียนแห่งการคิด และชุมชนแห่งการเรียนรู้"
ดังนั้น
ในปีการศึกษา 25492551 นอกเหนือจากแนวทางการบริหารจัดการดังกล่าวแล้วข้างต้นยังได้นำหลักการของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงโดยเฉพาะการนำเงื่อนไขด้านคุณธรรมพื้นฐานปลูกฝังในกระบวนการเรียนการสอนที่เน้นหลักคิดแบบOK Model
ผ่านระบบวัดและประเมินผลผู้เรียนบนหลักการคุณธรรมในทุกรายวิชา นำผลการเรียนรู้แจ้งให้ผู้เรียนรับทราบทุกๆสองสัปดาห์ และให้ผู้ปกครองนักเรียนรับทราบและร่วมกันแก้ปัญหาพฤติกรรมและการเรียนรู้ของผู้เรียนทุกภาคเรียนมาโดยตลอด อีกทั้งได้ปรับระบบการบริหารจัดการมุ่งเน้นผู้เรียนเป็นหัวใจของการจัดการ ได้จัดหาเจ้าหน้าที่ธุรการมาทำงานแทนงานธุรการของครูเดิม เพื่อคืนครูเข้าสู่ห้องเรียน

จนส่งผลให้ผู้เรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางด้านการเรียน( NT/O-NET)ใน 5 กลุ่มวิชาหลักเช่น วิชาภาษาอังกฤษ คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ และภาษาไทย สูงขึ้นมาโดยตลอดจนเกือบไม่แตกต่างจากนักเรียนในโรงเรียนยอดนิยมที่มีชื่อเสียง นักเรียนสามารถเข้าสอบเข้ามหาวิทยาลัยได้สูงมากอย่างที่ไม่เคยปรากฏมาก่อน และยังส่งผลให้นักเรียนกลุ่มนี้หลายคนเป็นผู้นำนักศึกษาที่ทำชื่อเสียงให้มหาวิทยาลัยต่างๆ และสอบชิงทุนไปต่างประเทศได้ อีกทั้งทำให้ครูโรงเรียนสุนทรภู่พิทยาพัฒนาสมรรถนะและทักษะทั้งด้านการใช้ภาษาอังกฤษและเทคนิคกระบวนการจัดการสอนสูงขึ้นและสามารถจัดการเรียนการสอนด้วยภาษาอังกฤษไม่แตกต่างจากครูต่างชาติที่สอนในโรงเรียนสองภาษาในประเทศไทย จนได้รับการยอมรับจากเครือข่ายให้เป็นผู้นำการจัดการเรียนการสอนสองภาษารูปแบบ EIS ของประเทศไทย

ปัจจุบันนี้โรงเรียนสุนทรภู่พิทยา นำกระบวนการจัดการเรียนการสอนรูปแบบ EIS ซึ่งเปรียบเสมือนเป็นกลยุทธ์หลักในการขับเคลื่อนกระบวนการเรียนรู้เพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ผู้เรียน ดำเนินการจัดการเรียนการสอนให้กับผู้เรียนทุกคน สนองนโยบายเรียนฟรี 15 ปีอย่างมีคุณภาพของรัฐบาล
นอกจากทำให้โรงเรียนสุนทรภู่พิทยาซึ่งเป็นโรงเรียนมัธยมศึกษาประจำตำบลโรงเรียนเกือบหนึ่งเดียวในประเทศไทยที่ยกระดับการพัฒนาการจัดการศึกษาจนทำให้ผลการเรียนรู้ของผู้เรียนเข้าอยู่ในกลุ่มโรงเรียนยอดเยี่ยมของประเทศไทยในปีการศึกษา 2552 แล้วยังทำให้โรงเรียนสุนทรภู่พิทยาได้รับการยอมรับจากหน่วยงานต่างๆ อาทิเช่น องค์การบริหารส่วนจังหวัดระยอง สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ สถาบัน ELTC มาเลเซีย เป็นต้น ให้เป็นโรงเรียนผู้นำการจัดการเรียนการสอนด้วยภาษาอังกฤษหรือหลักสูตรสองภาษาแนวใหม่ รูปแบบ EIS
ซึ่งเปรียบเสมือนเป็นรูปแบบสองภาษาแบบพอเพียง มีโรงเรียนเครือข่ายไม่น้อยกว่า
50 โรงเรียน ซึ่งรวมทั้งเครือข่ายโรงเรียนร่วมพัฒนาในประเทศและต่างประเทศอาทิเช่นสิงคโปร์ จีน และมาเลเซียเป็นต้น

(ดูเพิ่มเติมได้ที่ http://sites.google.com/site/surapongeisth, )


 

ตารางที่ 4:

กราฟเปรียบเทียบคะแนนเฉลี่ย O-Net ม. 6 โรงเรียนสุนทรภู่พิทยา (SPSS) ปีการศึกษา 2548 - 2551


 


 

ที่มา: สทศ

หมายเหตุ นักเรียน EIS จบม.๖ รุ่นแรก ปีการศึกษา 2550

ตารางที่ 2: กราฟเปรียบเทียบคะแนนNT/O-Net ม. 3 โรงเรียนสุนทรภู่พิทยา (SPSS) ปีการศึกษา 2548 - 2551


 

ที่มา: สทศ.
หมายเหตุ นักเรียนEIS จบม.3 รุ่นแรก ปีการศึกษา 2549


 

ตารางที่ 3: แสดงการเปรียบเทียบคะแนนNTเฉลี่ยวิชาภาษาอังกฤษระหว่างนักเรียน EP และ EIS


 

ที่มา: สพท.ระยอง ๒

ตารางที่ 4: แสดงการเปรียบเทียบ การจำแนกกลุ่มโรงเรียน จำนวนโรงเรียน ตามกลุ่มคะแนนเฉลี่ย มัธยมศึกษาตอนต้น (จำนวนโรงเรียนทั่วประเทศ: ชลบุรี: ระยอง) และมัธยมศึกษาตอนปลาย (จำนวนโรงเรียน ทั่วประเทศ: ชลบุรี: ระยอง)
ตามคะแนน O-Net ปีการศึกษา 2551

กลุ่มคะแนนเฉลี่ย

จำนวน
ร.ร. / คะแนนเฉลี่ย

มัธยมศึกษาตอนต้น

(จำนวนโรงเรียนทั่วประเทศ: ชลบุรี: ระยอง)

มัธยมศึกษาตอนปลาย

(จำนวนโรงเรียน ทั่วประเทศ: ชลบุรี: ระยอง)

กลุ่มสูงสุด
(1)

269 : 5 : 3

277 : 11 : 6

คะแนนเฉลี่ยของSPSS

42.50

38.57

คะแนนเฉลี่ยกลุ่มสูง

37.94

35.76

กลุ่ม 2

593:15:12

563:15:9

คะแนนเฉลี่ยกลุ่มกลาง

34.10

32.08

กลุ่ม3

861:6:3

851:4:4

คะแนนเฉลี่ยกลุ่มต่ำ

31.97

30.05

กลุ่ม4

686:5:1

649:1:0

รวม

2409:31:19

2409:31:19

ที่มา: สำนักการจัดการมัธยมศึกษาตอนปลาย สพฐ.
และจาก สทศ.

The Second Decade Educational Revolution, Thailand

การปฏิรูปการจัดการศึกษาเชิงระบบของกระทรวงศึกษาธิการ

เพื่อพัฒนาทักษะกระบวนคิดทั้งระบบ

             โดย สุรพงศ์ งามสม ประธานเครือข่ายครู EIS แห่งประเทศไทย

ถ้าหากทุกคนหันกลับคิดว่ากระทรวงศึกษาธิการเปรียบเสมือนโรงเรียน วิทยาลัย หรือมหาวิทยาลัยที่มีขนาดใหญ่ เป้าหมายสูงสุดสำคัญที่สุดคือประชาชนทุกคนในชาติได้รับการบริการด้านการศึกษาให้เป็นคนดี คนเก่งและมีความสุข ท่านรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเปรียบเสมือนครูใหญ่ พรบ.การศึกษาแห่งชาติพ.ศ.๒๕๔๒ เปรียบเสมือนหลักสูตรแกนกลางหรือพิมพ์เขียวที่รมต.จะต้องเป็นผู้นำ(Leader) ของบุคลากรทั้งมวลในกระทรวงศึกษาธิการให้นำหลักสูตรแกนกลาง (พรบ.) มาดำเนินการเพื่อให้เกิดผลลัพธ์ให้สอดคล้องเป็นไปตามเจตนารมณ์ของหลักสูตรนั้น (พรบ.การศึกษาแห่งชาติ ๒๕๔๒) ทั้งนี้ต้องคำนึงถึงนโยบายของรัฐบาล และรัฐธรรมนูญการปกครองของประเทศด้วย ซึ่งสามารถแสดงแผนผังการดำเนินงานของศธ.เพื่อให้เห็นภาพชัดเจนถึงความเกี่ยวข้องของหน่วยงานต่างๆได้ดังนี้


 


 


 


 


 




 


 


 

ถ้ากระทรวงศึกษาธิการโดย รมต.ศธ.ได้ใช้ภาวะผู้นำทำให้หน่วยปฏิบัติ ๕ องค์กรหลัก หน่วยสนับสนุนส่งเสริมและหน่วยตรวจสอบประเมินผลทั้งสามกลุ่มข้างต้นปฏิบัติภารกิจเสมือนให้เป็นโมเดลแบบอย่างต่อหน่วยงานย่อย โดยดำเนินการให้เป็นตามหลักการและเจตนารมณ์ของ พรบ.การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.๒๕๔๒ (และที่แก้ไขปรับปรุง พ.ศ.๒๕๔๕)เพื่อให้ผลผลิตปลายทางได้แก่ เยาวชน ผู้เรียนและประชาชนคนไทยทั้งประเทศเป็นคนเก่ง ดี มีสุข แล้วจะส่งผลต่อ

วิวัฒนธรรมการดำเนินงานของหน่วยต่างๆ

ดังนั้นการจัดให้มีการประชุมเมื่อ ๑๑-๑๒ ก.ย.๒๕๕๒โดยรมต.ศธ.เป็นผู้นำในการโฟกัสผลลัพธ์จากการดำเนินการจัดการศึกษาในรอบ ๑๐ปีที่ผ่านมาเพื่อที่จะกำหนดแนวทางปฏิรูป และวางกรอบนโยบายเพื่อให้เกิดเอกภาพภาคปฏิบัติซึ่งสำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา(สกศ.) ได้กำหนดเป็นประเด็นสำคัญใน 3 ประเด็นดังนี้

1. การเรียนการสอนทุกระดับทุกประเภท (ปรัชญาและจุดมุ่งหมาย โครงสร้าง หลักสูตรและเนื้อหาสาระ กระบวนการเรียนการสอน กิจกรรรม การเรียนนอกห้องเรียน การวัดและประเมินผล การสอบ NT ONET และ INET)

               2. ระบบการคัดเลือกเข้าศึกษาต่อทุกระดับทุกประเภท การสอบ GAT/PAT และการเชื่อมโยงสู่การเรียนการสอน ระบบการคัดเลือกเข้าศึกษาต่อ และความสอดคล้องกับความต้องการของสถาบัน สาขาวิชา และผู้เรียน

               3. คุณภาพของผลผลิตจากระบบการศึกษา (ความสอดคล้องกับตลาดแรงงาน ระบบประกันคุณภาพภายในและภายนอก การเทียบโอนความรู้และประสบการณ์ ความเชื่อมโยงของระบบการศึกษาและการทำงาน กรอบมาตรฐานคุณวุฒิแห่งชาติ)


 

    และท่านรัฐมนตรีในฐานะครูใหญ่เป็นประธานการประชุมได้สรุปประเด็นเพื่อให้การอภิปรายกระชับและตรงกับประเด็นปัญหาด้านการจัดการศึกษาที่เกิดขึ้นในสังคมไทยและเพื่อแสวงหาคำตอบเพื่อนำไปสังเคราะห์เพื่อดำเนินการในทางปฏิบัติอีก ๑ เดือนต่อไป โดยได้โฟกัสเป็น ๖ หัวข้อเรื่องดังนี้

1. การเรียนการสอนในปัจจุบัน สอนให้เด็กคิดวิเคราะห์หรือไม่ (หลักสูตร การเรียนการสอนเป็นอย่างไร)

            2. การออกข้อสอบในปัจจุบัน ONET, GAT/PAT สอดคล้องกับการเรียนการสอนหรือเปล่า

            3. เด็กเรียนในห้องเรียนมากไปหรือไม่ และการเรียนรู้นอกห้องเรียนควรทำอย่างไร

            4. ระบบการคัดเลือกเข้าศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษา GAT/PAT เหมาะสมหรือยัง สอดคล้องกับสิ่งที่ควรจะเป็นหรือยัง (เช่น ลดอัตราการออกกลางคัน)

            5. สถาบันอุดมศึกษาผลิตบัณฑิตมีคุณภาพตามความต้องการของประเทศหรือยัง

            6. ระบบการวัดผล ประเมินผลในทุกมิติเป็นระบบหรือกระบวนการที่เที่ยงตรง แม่นยำ เหมาะสมหรือไม่


 


โดยสรุปจากที่ประชุมและให้ข้อคิดเห็นเพิ่มเติมดังนี้

    ๑ การจัดการเรียนการสอนในปัจจุบันยังไม่ส่งเสริมให้ผู้เรียนโดยรวมคิดวิเคราะห์ยังไม่เป็นที่พึงพอใจ ต้องมีการปรับปรุงในกระบวนการเรียนการสอนของครูและบทบาทการบริหารจัดการของผู้บริหารโรงเรียน ทำอย่างไรที่จะให้ทุกส่วนที่เกี่ยวข้องกับผู้เรียน
เน้นผู้เรียนเป็นหัวใจสำคัญของการจัดการศึกษา ส่วนกลาง
ทั้งสพฐ. และเขตพื้นที่ควรจะต้องหันกลับทำหน้าที่สนับสนุน ส่งเสริม จูงใจและปรับวัฒนธรรมการทำงาน โดยการกระจายอำนาจการตัดสินใจลงสู่โรงเรียนหรือหน่วยปฏิบัติตรงกับผู้เรียนให้มากที่สุด ครูและผู้บริหารต้องได้รับการพัฒนาและต้องมิใช่วิธีการอบรมพัฒนาเดิมๆตามรูปแบบที่เขตพื้นที่การศึกษาดำเนินการที่ผ่านมา กระบวนส่งเสริมครูดี ครูเก่ง โรงเรียนดี โรงเรียนเด่น ผู้บริหารดี ผู้บริหารเด่น ต้องดำเนินการอย่างจริงจัง และพยายามสรรหา สร้างระบบเสริมเพื่อจูงใจให้ได้ คนดี คนเก่งมาเป็นครูและผู้บริหารโรงเรียน โดยเฉพาะผู้บริหารโรงเรียนที่จะใช้วิธีคัดเลือกและวิธีโยกย้ายเพื่อสับเปลี่ยนแบบเดิมโดยคำนึงแต่ปริมาณนักเรียนและความต้องการของผู้อยากโยกย้ายคงไม่ได้ผลเนื่องจากยังไม่ได้เน้นไปที่การแก้ปัญหาที่ผลผลิตและผลการดำเนินการอย่างแท้จริงเพียงแต่ส่งเสริมให้ผู้บริหารและครูมีความก้าวหน้าบนฐานของความพึงพอใจเสียเป็นส่วนใหญ่ จึงส่งผลให้การพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาซึ่งเปรียบเสมือนพิมพ์เขียวของการพัฒนาผู้เรียนมิได้ถูกดำเนินการนำไปใช้ในการพัฒนาผู้เรียนที่ถือว่าเป็นหัวใจสำคัญอย่างเต็มที่ การจัดการด้านการบริหารหลักสูตรจากส่วนกลางยังมิได้วิวัฒนธรรม คือยังเป็นการบริหารแบบจัดการ (Management)มากกว่าการบริหารแบบจูงใจ(Motivation) อาทิเช่นการจัดโครงสร้างเวลาเรียนและการกำหนดตัวชี้วัดมาตรฐานการเรียนรู้ชั้นปีในหลักสูตร 51ขาดการกระจายอำนาจไปสู่โรงเรียนเป็นลักษณะ Fix more than Flex
(flexible) และจะส่งผลต่อให้โรงเรียนเน้นด้านเนื้อหาวิชามากกว่ากระบวนการ
ซึ่งโดยที่ประชุมฯ เห็นว่าหลักสูตร 44ดีอยู่แล้วเพียงไปเน้นที่กระบวนการจัดการเรียนการสอน และพัฒนาโรงเรียนให้สามารถนำหลักสูตรไปใช้ให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้น แล้วผู้เรียนก็จะคิดวิเคราะห์ คิดสังเคราะห์เป็นและดีกว่าเดิม ซึ่งปัจจุบันมีโรงเรียนดีๆน่าสนใจมากๆอยู่ทั่วไป อาทิเช่น ลำปลายมาศพัฒนา (โรงเรียนนอกกะลา) รุ่งอรุณ กลุ่มโรงเรียนสองภาษารูปแบบใหม่(EIS) เป็นต้น

    ๒. การออกข้อสอบในปัจจุบัน O-NET, GAT/PAT สอดคล้องกับการเรียนการสอนหรือไม่นั้น ถ้าผู้ปฏิบัติที่รับผิดชอบสามารถสะท้อนปัญหาข้อ ๑ ได้
และนำมาพัฒนาปรับปรุง จะเป็นระบบที่ส่งเสริมทักษะกระบวนการคิดของโรงเรียนและตอบปัญหาและพัฒนาการคิดของสังคมได้ ข้อเสนอแนะ ทำไมไม่ลองเอาระบบการสอบ PSLE, N- Level, O- Level, A-level ของประเทศสิงคโปร์มาศึกษา
ในฐานะที่ผู้นำเสนอได้นำระบบการจัดการศึกษาของสิงคโปร์มาประยุกต์ในกระบวนการจัดการเรียนรู้และกระบวนการวัดและประเมินผลในโรงเรียน ตามยุทธศาสตร์ที่กำหนดไว้ในมาตรา ๒๖ พรบ.การศึกษาแห่งชาติฯ พบว่าตอบปัญหาข้อ ๑ ได้ครับ (ดูรายละเอียดเพิ่มเติมที่ http://sites.google.com/site/surapongeisth

)

    ๓. ห้องเรียนที่เหมาะสมในสถานการณ์เศรษฐกิจไทยปัจจุบัน ห้องเรียนละไม่เกิน ๔๐ คน ยังสามารถดำเนินการได้ดี
เฉกเช่นสิงคโปร์ห้องเรียนละ ๔๐ คนเช่นกัน ถ้ายึดสมรรถนะผู้เรียนตามหลักสูตรแกนกลางและพัฒนากระบวนการจัดการเรียนการสอนยึดผู้เรียนเป็นสำคัญไม่ทอดทิ้งนักเรียนคนใดคนหนึ่งไว้ข้างหลัง การจัดกิจกรรมนอกห้องเรียนที่เหมาะสมกับบริบทของแต่ละโรงเรียนต้องมากขึ้น แล้วนำระบบที่ได้รับการพัฒนาแล้วใน การจัดหลักสูตรข้อ ๑ และการจัดทดสอบในข้อ ๒ มาส่งเสริมและกำกับ ตรวจสอบ

    ๔.
ระบบการคัดเลือกนักเรียน นักศึกษาเข้าเรียนต่อยังขาดเอกภาพ หลากหลายมากเกินไป โดยเฉพาะ ระบบการคัดเลือกเข้าเรียนในมหาวิทยาลัย ยังติดอัตตามากเกินไป ทำให้ประชาชนโดยเฉพาะผู้ปกครองต้องดิ้นรน ขวนขวายส่งเสริมให้ลูกหลานได้เรียนระบบเสริมกล่าว คือ ระบบโรงเรียนเสริมกวดวิชาเพราะเป็นห่วงเรื่องการสอบ
O-Net, GAT/PAT มากครั้งและการสอบตรงของแต่ละมหาวิทยาลัย ทำให้สูญเสียทางด้านเศรษฐกิจ และทำให้คนยากจน และที่ห่างไกลขาดโอกาส และไม่ส่งเสริมระบบกระบวนการเรียนการสอนในโรงเรียนโดยเฉพาะการสร้างให้ผู้เรียนมีทักษะการคิดวิเคราะห์ คิดสังเคราะห์ฯ ที่ประชุมเห็นว่าต้องมาโฟกัสระบบการคัดเลือกโดยเฉพาะเงื่อนของเวลาและความหลากหลายวิธีคัดของแต่ละมหาวิทยาลัยให้ชัดเจน โดยคำนึงถึงความเป็นเอกภาพ การสนับสนุนการเรียนรู้ในระบบโรงเรียน และส่งเสริมความเข้มแข็งทางด้านภูมิปัญญาของท้องถิ่นและสังคม เป็นไปได้หรือไม่ การคัดคนเข้าระบบอุดมศึกษาควรทำเป็น ๒ ทางเลือก คือ ประการแรกการรับตรง ต้องรับพร้อมกัน เพื่อสนับสนุนส่งเสริมท้องถิ่นและสังคมและปรัชญาของการบริการของมหาวิทยาลัย เฉกเช่นการรับนักเรียนของสพฐ.ในเขตพื้นที่บริการเป็นต้น และสองรับส่วนกลาง ทุกมหาวิทยาลัยรับพร้อมกันโดยทาง สกอ.เป็นผู้ดำเนินการเพื่อเปิดโอกาสให้ปัญญาชนทั่วทั้งประเทศได้เลือกเรียนในมหาวิทยาลัยตามความสนใจ พึงพอใจ เครื่องมือการคัดเลือกใช้ พรบ.การศึกษาฯ มาตรา 26 เป็นหลักการ และนำผล O-Net, GAT/ PAT (จาก สทศ. ) และ GPAX บวกPortfolio ความดีของนักเรียนของโรงเรียน
มาประกอบการพิจารณา และการสอบ GAT/PAT ไม่ควรเกิน ๒ ครั้งในรอบปี

ประการสุดท้ายของหัวข้อนี้เห็นว่าการจัดการทดสอบ GAT ม.ต้น ควรได้รับการสนับสนุนเพื่อให้เป็นการส่งเสริมและพัฒนากระบวนการจัดการเรียนการสอนในโรงเรียนและต้องสามารถคัดเลือก แยกแยะผู้เรียนได้ว่าคนใดสมควรเรียนต่อ ม.๔ เน้นวิชาการ หรือ ปวช.สายอาชีพ การจัดสอบ GAT ด้วยภาษาอังกฤษ ๕๐ % ขอให้เน้นด้านการสื่อสารใน ม.ต้น และต้องให้ธำรงไว้ต่อไป ซึ่งนอกจากจะทำให้โรงเรียนพัฒนากระบวนการเรียนการสอนภาษาอังกฤษ แล้วยังเป็นการยกระดับคุณภาพและสมรรถนะของคนไทยเทียบเคียงประชาคมอาเซียนในอีกไม่กี่ปีข้างหน้า ซึ่งในส่วนนี้ ถ้าผมมีโอกาสได้ส่งเสริมและพัฒนาโรงเรียนต่างๆในด้านกระบวนการจัดการเรียนรู้เฉกเช่นที่ผมได้ทำมาที่โรงเรียนสุนทรภู่พิทยา จ.ระยอง เพียงไม่เกิน ๓ ปี ประชาชนคนไทยสามารถสื่อสารภาษาอังกฤษได้ถ้วนหน้า และผลสัมฤทธิ์ผู้เรียนคณิต-วิทย์-ภาษาไทย สูงขึ้นอย่างแน่นอน    

๕. คุณภาพผลผลิตของการจัดการศึกษาอุดมศึกษาโดยภาพรวมยังไม่สะท้อนต่อความต้องการของสังคมโดยรวม เห็นได้ชัดเช่นที่ผ่านมา ครูที่สังคมควรได้รับกลับมิใช่คนเก่งที่มีมันสมองระดับชั้นต้นๆ ผู้เรียนครูในคณะศึกษาศาสตร์โดยส่วนใหญ่คือผู้ที่จะเข้าศึกษาในคณะต่างๆไม่ได้แล้ว ดังนั้นต้องมีการปรับ พัฒนาและส่งเสริมค่านิยมอย่างแท้จริง ทำไมระบบการคัดสรรครูของสิงคโปร์ทำให้ได้คนเก่งคนดีมาเป็นครู หน่วยนโยบายน่าที่จะสนใจและทำได้ในการปฏิรูประบบรูปแบบใหม่ แต่เมื่อเห็นความพยายามของรมต.ศธ.ที่จะดำเนินการเอาคนเก่งคนดีมาเป็นครูในระยะ ๕ ปีต่อไปนี้เป็นเรื่องที่ดีมากแต่อย่าลืมกลั่นครูน้ำเก่าซึ่งเป็นคนส่วนใหญ่ในโรงเรียน เดี๋ยวพอผสมปนเป แล้วจะเกิดครูพันธ์ทางที่ไม่พึงปรารถนา ทางแก้ไม่ยากครับเสริมสร้างโรงเรียนแนวใหม่เพื่อเป็นสถานประกอบการสำหรับรองรับการฝึกและถ่ายทอดประสบการณ์ให้กับการเตรียมครูพันธ์ใหม่ครับ

๖. สำหรับข้อนี้ ต้องมีการพัฒนามิใช่ยกเลิกเพราะโดยโครงสร้างของหน่วยงานเป็นระบบอิสระเพื่อทำหน้าที่ตรวจสอบที่ถูกสังคมโดยเฉพาะหน่วยปฏิบัติสะท้อนอยู่ตลอดเวลาไม่น่าเป็นห่วงครับ แต่ถ้าระบบนี้ขาดหายไปอันตรายมากประเทศไทย

ในความคิดส่วนตัวในฐานะผู้ปฏิบัติในระดับโรงเรียน ผู้นำสถานศึกษาเป็นกุญแจสำคัญในการที่ขับเคลื่อนภารกิจให้เป็นไปตามเจตนารมณ์ของพรบ.การศึกษา ฯ ตัวหลักสูตรแกนกลางเปรียบเสมือนพิมพ์เขียวของกระทรวงศึกษาธิการที่นำมาให้โรงเรียนมาขยายพิมพ์ให้พอเหมาะกับบริบทโรงเรียน ประเด็นคำถามสำคัญว่าระบบส่วนกลางได้สนับสนุน ส่งเสริม และเสริมสร้างให้ผู้บริหารโรงเรียนเข้าใจ ตระหนักและดำเนินการในการเป็นผู้นำด้านหลักสูตรและกระบวนการเรียนรู้อย่างเต็มที่หรือไม่และอย่างไร? ในยุคแห่งทศวรรษ Cyber Digit นี้ ผู้นำจำเป็นต้องเปลี่ยนวิถีคิด ปรับวิธีทำงาน บูรณาการการบริหารจัดการที่คำนึงถึงหลักธรรมาภิบาลมุ่งเน้นในด้านผู้นำทางด้านกระบวนการเรียนรู้โดยมีส่วนร่วมในบริบทของ SBM (ตัว S ต้องคิดเป็นสองนัยคือ บนฐานของผู้เรียน และบริบทของโรงเรียน) กล่าวสั้นๆคือทำอย่างไรผู้บริหารโรงเรียนต้องใช้ภาวะผู้นำโน้มนาวให้ทุกส่วนที่เกี่ยวข้องกับโรงเรียนเห็นว่ากระบวนการเรียนรู้เป็นเรื่องสำคัญที่สุด

ข้อเสนอแนะเพิ่มเติมเพื่อการเสริมสร้างสมรรถนะของผู้บริหารโรงเรียนจำเป็นต้องให้เขาเหล่านั้นเข้าใจและกระจ่างในหลักการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์(Human Resource Development)
บนหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง (ดูภาพข้างล่างต่อไปนี้ครับ)
และทักษะการใช้ภาษาอังกฤษให้สามารถสื่อสารเป็นภาษาที่สองผ่านทางระบบเครือข่ายอิเลคโทรนิค เพื่อให้เป็นผู้นำที่สอดรับและพร้อมนำในโลกยุค
Cyber Digit และในที่สุดผู้นำเหล่านั้นจะนำพาครูและถ่ายทอดอารยะธรรมเหล่านี้สู่เยาวชน ซึ่งเป็นหัวใจสำคัญที่สุดของกระทรวงศึกษาธิการครับ


สุดท้ายสำหรับกลยุทธ์ในการการกระจายอำนาจไปสู่หน่วยปฏิบัติที่ตรงต่อผู้รับบริการ
อยากเสนอแนะให้กระทรวงศึกษาธิการแปลงยุทธศาสตร์แบบมีส่วนร่วมเชิง Democracy ภายใต้การดำเนินการแบบ Decency สร้างระบบภูมิคุ้มกันแบบ Drug free ดำเนินการให้เห็นจริงในทางปฏิบัติ ผมเชื่อว่าทุกส่วนคงเข้าใจและนำ 3D ไปเป็นยุทธศาสตร์ในการดำเนินการได้ครับ

วันอาทิตย์ที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2552

OK Model: Learning Procedure, Back to the Basics.

มนุษย์เป็นสิ่งมีชีวิตที่มีวิวัฒนาการของการเรียนรู้มาจากฐานรากโดยใช้สัญชาต ญานที่ฝังอยู่ในตัวไม่แตกต่างจากสัตว์ทั้งหลาย การพัฒนาด้านทักษะการสังเกต(Observation)ของมนุษย์ตั้งแต่แรกเริ่มเป็นสิ่งจำเป็นที่ต้องปลูกฝังอยู่ในกระบวนการเรียนรู้ตลอดเวลา OK Model ทั้งสามโมเดลต่อไปนี้ สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการเรียนรู้ในของมนุษย์ โดยปรับใช้ให้สอดคล้องกับพัฒนาการของมนุษย์ตามวัย ดังนี้

1. OK Model: Basic Learning Procedure

โมเดล1 ข้างต้นนี้ ควรนำมาพัฒนาการเรียนรู้กับมนุษย์ตั้งแต่แรกเกิดจนสิ้นสุดวัยเด็ก(Nursesary to Primary:อายุแรกเกิดจนถึง12 ปี) โดยแต่ละขั้นตอนมีลำดับขั้นดังนี้
1. Observing: ทำการสังเกต โดยพ่อ แม่ ผู้ปกครอง และครู ควรจัดสถานะการณ์ให้ผู้เรียนได้ศึกษาจากสิ่งหรือปรากฎการณ์ต่างๆ โดยการฝึกทักษะการใช้ประสาทสัมผัสทั้งห้า( การมองเห็น การได้ยิน การสัมผัส การดมกลิ่น และการลิ้มรส) กับสิ่งหรือปรากฎการณ์ต่างๆเหล่านั้น
2. Comparing: ทำการเปรียบเทียบ กับสิ่งต่างๆ โดยให้ผู้เรียนได้คาดคะเนจากการสัมผัสโดยใช้อวัยวะส่วนต่างๆของร่างกายและฝึกทักษะการใช้เครี่องมือพื้นฐานเพื่อทำการเปรียบเทียบ อาทิเช่น การชั่ง ตวง วัด เครื่องคิดเลข หรือคำนวณเลขง่ายๆ เป็นต้น
3. Classifying: นำผลจากการเปรียบเทียบมาดำเนินการจัดเป็นหมู่ พวกเพื่อให้ง่ายต่อการที่จะเชื่อมโยงกับสิ่งที่เคยรับรู้หรือเป็นความรู้มาก่อนในขั้นที่ 4
4. Transfering: นำผลลัพทธ์จากขั้นที่ 2 และ/หรือ 3 มาทำการเชื่อมโยงกับสิ่งหรือปรากฎการณ์ต่างๆที่เคยรับรู้หรือที่เป็นความรู้มาก่อน เพื่อที่จะนำไปสู่การอนุมานหรือสรุป
5. Infering: ทำการอนุมานหรือสรุปสิ่งกำลังศึกษาจากขั้นตอนที่1-4 ซึ่งจะเป็นความรู้ใหม่ที่ได้รับจากกระบวนการเรียนรู้

ซึ่งจะเรียกกระบวนการเรียนรู้นี้ว่า รูปแบบความรู้ที่เกิดจากการการสังเกต(Observing KnowledgeModel)และจะเรียกสั้นๆว่า OK Model

2. OK Model; Cyclical Learning


โมเดล 2 ข้างต้นนี้ ควรนำมาพัฒนาการเรียนรู้กับมนุษย์ตั้งแต่วัยแรกรุ่น จนเข้าสู่วัยผู้ใหญ่(Secondary:อายุ12 ปีจนถึง17 ปี) โดยกระบวนการเรียนรู้ในแต่ละขั้นตอนทำนองเดียวกับโมเดลที่1 เพียงแต่สีงหรือสถานะการณ์ต่างๆที่จัดให้ผู้เรียนศึกษาควรซับซ้อนมากขึ้นตามพัฒนาการเรียนรู้ที่เขาได้รับมา และเน้นการจัดสถานการณ์การเรียนรู้ให้มีความต่อเนื่องจนเป็นวัฎจักร( Cycle)

3. Adult/Experiential Learning Process; Applied OK Model

โมเดล 3 ได้ประยุกต์การจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบ OK model 1 & 2 ข้างต้นเชื่อมโยงต่อเนื่องกับ แนวความคิดการจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบผู้ใหญ่ของ Knowles Malcolm S & Kolb, David A

by Surapong Ngamsom,
April, 2009

OK Model; Learning Procedure, Back to Basics

มนุษย์เป็นสิ่งมีชีวิตที่มีวิวัฒนาการของการเรียนรู้มาจากฐานรากโดยใช้สัญชาต ญานที่ฝังอยู่ในตัวไม่แตกต่างจากสัตว์ทั้งหลาย การพัฒนาด้านทักษะการสังเกต(Observation)ของมนุษย์ตั้งแต่แรกเริ่มเป็นสิ่งจำเป็นที่ต้องปลูกฝังอยู่ในกระบวนการเรียนรู้ตลอดเวลา OK Model ทั้งสามโมเดลต่อไปนี้ สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการเรียนรู้ในของมนุษย์ โดยปรับใช้ให้สอดคล้องกับพัฒนาการของมนุษย์ตามวัย ดังนี้

1. OK Model: Basic Learning Procedure

โมเดล1 ข้างต้นนี้ ควรนำมาพัฒนาการเรียนรู้กับมนุษย์ตั้งแต่แรกเกิดจนสิ้นสุดวัยเด็ก(Nursesary to Primary:อายุแรกเกิดจนถึง12 ปี) โดยแต่ละขั้นตอนมีลำดับขั้นดังนี้

1. Observing: ทำการสังเกต โดยพ่อ แม่ ผู้ปกครอง และครู ควรจัดสถานะการณ์ให้ผู้เรียนได้ศึกษาจากสิ่งหรือปรากฎการณ์ต่างๆ โดยการฝึกทักษะการใช้ประสาทสัมผัสทั้งห้า( การมองเห็น การได้ยิน การสัมผัส การดมกลิ่น และการลิ้มรส) กับสิ่งหรือปรากฎการณ์ต่างๆเหล่านั้น
2. Comparing: ทำการเปรียบเทียบ กับสิ่งต่างๆ โดยให้ผู้เรียนได้คาดคะเนจากการสัมผัสโดยใช้อวัยวะส่วนต่างๆของร่างกายและฝึกทักษะการใช้เครี่องมือพื้นฐานเพื่อทำการเปรียบเทียบ อาทิเช่น การชั่ง ตวง วัด เครื่องคิดเลข หรือคำนวณเลขง่ายๆ เป็นต้น
3. Classifying: นำผลจากการเปรียบเทียบมาดำเนินการจัดเป็นหมู่ พวกเพื่อให้ง่ายต่อการที่จะเชื่อมโยงกับสิ่งที่เคยรับรู้หรือเป็นความรู้มาก่อนในขั้นที่ 4
4. Transfering: นำผลลัพทธ์จากขั้นที่ 2 และ/หรือ 3 มาทำการเชื่อมโยงกับสิ่งหรือปรากฎการณ์ต่างๆที่เคยรับรู้หรือที่เป็นความรู้มาก่อน เพื่อที่จะนำไปสู่การอนุมานหรือสรุป
5. Infering: ทำการอนุมานหรือสรุปสิ่งกำลังศึกษาจากขั้นตอนที่1-4 ซึ่งจะเป็นความรู้ใหม่ที่ได้รับจากกระบวนการเรียนรู้ ซึ่งจะเรียกกระบวนการเรียนรู้นี้ว่า รูปแบบความรู้ที่เกิดจากการการสังเกต(Observing KnowledgeModel)และจะเรียกสั้นๆว่า OK Model

2. OK Model; Cyclical Learning


โมเดล 2 ข้างต้นนี้ ควรนำมาพัฒนาการเรียนรู้กับมนุษย์ตั้งแต่วัยแรกรุ่น จนเข้าสู่วัยผู้ใหญ่(Secondary:อายุ12 ปีจนถึง17 ปี) โดยกระบวนการเรียนรู้ในแต่ละขั้นตอนทำนองเดียวกับโมเดลที่1 เพียงแต่สีงหรือสถานะการณ์ต่างๆที่จัดให้ผู้เรียนศึกษาควรซับซ้อนมากขึ้นตามพัฒนาการเรียนรู้ที่เขาได้รับมา และเน้นการจัดสถานการณ์การเรียนรู้ให้มีความต่อเนื่องจนเป็นวัฎจักร( Cycle)

3. Adult/Experiential Learning Process; Applied OK Model

3 ได้ประยุกต์การจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบ OK model 1 & 2 ข้างต้นเชื่อมโยงต่อเนื่องกับ แนวความคิดการจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบผู้ใหญ่ของ Knowles Malcolm S & Kolb, David A